ทําไมเราถึงต้องทําเรื่องนี้ !!

ปัญหาสุขภาพช่องปากยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับโลก ที่ท้าทายระบบสุขภาพทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ แม้ว่าในประเทศไทยได้มีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากมาอย่างต่อเนื่องแต่ปัญหาสุขภาพช่องปากมักถูกมองข้ามเป็นปัญหาในระดับต่ำ จึงจำเป็นต้องกระตุ้นสร้างความตระหนักและศักยภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนทุกกลุ่มวัย

การจัดบริการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสุขภาพช่องปากในประเทศไทย ทำให้สุขภาพช่องปากของคนไทยค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ก็ยังมีช่องว่างในกลุ่มประชากรต่างๆ (ดังที่พบในการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2560 : ครั้งที่ 8) โดยสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยพบปัญหาในแต่ละกลุ่มวัย ดังนี้

กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน
พบว่า
ฟันผุในครึ่งหนึ่งของ
เด็กอายุ
3 ปี และสามในสี่ของเด็กอายุ 5 ปี
โดยเด็กอายุ 5 ปี กว่าหนึ่งในสี่
มีการถอน
ฟันน้ำนม
ในช่องปากแล้ว

กลุ่มเด็กวัยเรียนกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กอายุ 12 ปี พบว่า
มีฟันผุ โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ
ถอน อุด 1.4 ซี่/คน

และมีเพียงร้อยละ 61.4
ที่แปรงฟันก่อนนอน
นอกจากนี้ยังพบว่า
เด็กหนึ่งในสาม
ทานขนม
กรุบกรอบทุกวัน
และเด็กนักเรียนร้อยละ 12.2
ต้องหยุดเรียนเพื่อไปทําฟัน

กลุ่มเด็กวัยรุ่น
พบว่า เด็กอายุ 15 ปี
มีความชุกของโรคฟันผุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 62.7
มีพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม
ร้อยละ 57.1
เเละพบการบริโภคขนมทุกวันร้อยละ 33.1

กลุ่มวัยทํางาน พบปัญหาสําคัญคือ การสูญเสียฟัน
โดยการสํารวจพบว่า
มีฟันผุเฉลี่ย 6.6 ซี่/คน
มีการสูญเสียฟันเฉลี่ย 36 ซี่/คน
และกว่าสามในสี่ที่มีฟันผุ
ที่ยังไม่ได้รับการรักษา
และอีก 1 ใน 5 มีปัญหาปริทันต์ โดยส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก
เช่น การ
สูบบุหรี่ เป็นต้น

กลุ่มวัยสูงอายุน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง มีฟันล่างสบกันอย่างน้อย 4 คู่สบ กว่า 1 ใน 3 มีสภาวะปริทันต์
ที่ทําให้ประสิทธิภาพ
การบดเคี้ยวลดลง
โดยมีเพียงร้อยละ 38.6
ที่ไปรับบริการทันตกรรม
ในปีที่ผ่านมา

ในขณะเดียวกัน การจัดบริการการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสุขภาพช่องปากในประเทศไทย ทำให้สุขภาพช่องปากของคนไทยค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ยังพบปัญหาและมีช่องว่างในทุกกลุ่มประชากรการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากจึงจำเป็นต้องดำเนินการในทุกระดับ คือ ระดับประชาชนจะต้องสร้างความตระหนักและศักยภาพในการดูแลสุขภาพช่องปาก และในระบบบริการจำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพช่องปากพึงประสงค์ และพัฒนาชุดกิจกรรมที่เพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการเชิงคุณภาพต่างในการลดปัญหา รวมถึงพัฒนาระบบการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยง การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มวัย จึงจำเป็นต้องพัฒนาชุดกิจกรรมบริการเชิงคุณภาพร่วมกับการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในพื้นที่ ภายใต้แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่มีความเสมอภาค (Equality) ในการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก โดยการกำหนดนโยบายและการสร้างภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดสุขภาวะช่องปากในประชาชนทุกระดับ ที่คำนึงถึงบริบทที่หลากหลายและมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรมและภูมิศาสตร์

จากความพยายามของกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากมาเป็นเวลานาน พบว่า ยังไม่ประสบผลสำเร็จ และได้ยืนยันถึงความซับช้อนของการจัดการ และความยากในการขับเคสื่อนระบบสุขภาพช่องปากของประเทศ เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากของประชาชนให้ไปในทิศทางเป้าหมายของระดับประเทศและนานาชาติ ที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อสุขภาพและมุ่งพัฒนาระบบสุขภาพช่องปากไปพร้อมกับการพัฒนาระบบสุขภาพโดยรวม ซึ่งข้อขัดข้องสำคัญที่ทำให้การเกิดยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากเป็นไปได้ยาก คือ ขาดกลไกขับเคลื่อนระบบสุขภาพช่องปากขาดการประเมินผลเชิงระบบในเรื่องมาตรการ และโครงการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในระดับประเทศและระดับพื้นที่ ขาดกำลังคน
ที่มีศักยภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ ขาดความประสานร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคท้องถิ่นและประชาสังคมให้เกิดพลังในการสร้างเสริมสุขภาพ
รวมทั้งประชาชนยังขาดความตระหนักความรอบรู้และศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) จึงได้ดำเนินโครงการ “พัฒนากลไกการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากประเทศไทย” ภายใต้การสนับสนุนทุนดำเนินงานจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง มาร่วมขับเคลื่อนและดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งโครงการมีเป้าประสงค์ในการมุ่งผลลัพธ์ให้เกิดระบบสุขภาพช่องปากอันพึงประสงค์ ที่มุ่งเน้นสุขภาพองค์รวมของประชาชน ทำงานร่วมไปกับระบบสุขภาพภาพที่ เป็นธรรม และประชาชนเป็นเจ้าของ เป็นระบบสุขภาพช่องปากที่สามารถตอบสนองความต้องการและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อที่กำหนดสุขภาพ บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ผ่านการตรวจสอบความเป็นไปได้ ที่ภาคีทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และประชาสังคมมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ โดยกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อให้ไปถึงเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ 4 ประการสำคัญ ดังนี้

สร้างวิสัยทัศน์ร่วม และวิเคราะห์เชิงระบบเพื่อพัฒนาการ
ขับเคลื่อนให้เกิดระบบสุขภาพช่องปากสำหรับประเทศไทย

สร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายวิชาการและสนับสนุนการทำงานวิชาการของเครื่อข่ายในประเด็นที่มีความสำคัญ ทั้งในระดับนโยบายและในระบบบริการสุขภาพ

พัฒนากลไกความเชื่อมโยงเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย
ระดับ
ประเทศ ระหว่างภาคีวิชาการและภาคีในพื้นที่
และกลไก
นโยบายรายประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยใช้ความรู้

สื่อสารสาธารณะที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในระบบสุขภาพช่องปากและบทบาทของภาคส่วนต่างๆในการขับเคลื่อนให้เกิดระบบสุขภาพช่องปากใหม่

ORH Knowledge

ORH On The MOVE