แชร์ไปยัง
Facebook

ส่งไปยัง
Email

ดาวน์โหลดไฟล์

รู้หรือไม่ว่า ‘ความเหลื่อมล้ำทางสังคม’ ทำให้ประชากรโลกส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นที่ทุกคนควรจะได้รับ โดยเฉพาะสวัสดิการสุขภาพด้านทันตกรรม โดยสถานการณ์ระดับโลกด้านสุขภาพช่องปาก พบว่า
– ทั่วโลกมีประชากรที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก 3.5 พันล้านคน

– ฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานมีผลต่อสุขภาพโดยรวมซึ่งสร้างความเสียหายด้านเศรษฐกิจและสังคมระดับประเทศ ที่รัฐต้องตามแก้ไขปัญหาแบบไม่รู้จบ

– การรักษาสุขภาพช่องปากส่วนใหญ่มีราคาแพง และหลักประกันสุขภาพของประเทศยังไม่ครอบคลุมการรักษา
– ประเทศที่มีรายได้ต่ำ-กลาง (เช่นประเทศไทย) ยังให้ความสำคัญการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากน้อย

ในขณะเดียวกัน

สถานการณ์ในประเทศไทยเองก็สัมพันธ์กับสถานการณ์ระดับโลก

ด้านสุขภาพช่องปาก
– ร้อยละ 10 ของประชากรในประเทศเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากที่มีคุณภาพ
– ประชากรทุกช่วงวัยมากกว่าร้อยละ 50 มีปัญหาฟันผุ และพบมากในวัยเด็ก

ด้านบริการ
กลุ่มยากจนที่สุด กลุ่มสูงอายุ และกลุ่มที่อาศัยในเขตชนบท เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับบริการสุขภาพช่องปากที่จำเป็น

– ในอดีตกลุ่มผู้ที่ไม่มีสวัสดิการของรัฐเคยเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับบริการสุขภาพช่องปากที่จำเป็น แต่ข้อมูลในปี 2564 กลับพบว่า พนักงานบริษัทและผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กลับกลายเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับบริการสุขภาพช่องปากที่จำเป็นมากที่สุด
– ประชากรร้อยละ 40 ต้องใช้บริการจากภาคเอกชน เพราะไม่ต้องเสียเวลารอเพื่อรับบริการ, ครอบคลุมบริการที่จำเป็น, ไม่จำกัดเวลาในการให้บริการ แม้จะมีสิทธิประกันสุขภาพของภาครัฐก็ตาม

ด้านผลิตภัณฑ์
คนไทยส่วนใหญ่ซื้อแปรงสีฟันได้ในราคา 10-30 บาท แม้ว่าไม่มีข้อมูลราคาที่สัมพันธ์กับคุณภาพสินค้า แต่พบว่าแปรงสีฟันราคาถูกที่ขายในตลาดนัด/แผงลอยส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐานและไม่มีฉลากรับรอง
– นักเรียน 1.4% ไม่มีอุปกรณ์แปรงฟัน

– แม้ว่าคนไทยเข้าถึงน้ำสะอาดสำหรับดื่มถึง 99.5% (ปี 2562) แต่ในโรงเรียนกว่า 5% กลับไม่มีน้ำสะอาดให้เด็กใช้แปรงฟัน
– คนไทยเข้าถึงยาสีฟันฟลูโอไรด์มากถึง 90% โดยมีสัดส่วนของยาสีฟันทั่วไปในตลาด 65% ยาสีฟันสมุนไพร 22% ยาสีฟันเพื่อฟันขาว 10% และยาสีฟันเด็ก 3% แต่ยาสีฟันที่ขายในตลาด 20% ไม่ผสมฟลูออไรด์ โดยเฉพาะยาสีฟันสมุนไพรที่นิยมใช้กันถึง 75% ก็ยังไม่ผสมฟลูโอไรด์เช่นกัน (ยาสีฟันผสมฟลูโอไรด์อย่างน้อย 1,000 ppm เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันฟันผุและใช้ในชีวิตประจำวันได้ในผู้ใหญ่ ยาสีฟันเด็กไม่ควรเกิน 1,000 ppm และไม่ใช้เกินเม็ดถั่วเขียว)

ที่มา
1. องค์การอนามัยโลก Dental Health https://www.who.int/oralhealth
2. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ Sustainable development goal .https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs/เป้าหมายที่-6
3. จารุวัฒน์ บุษราคัมรุหะ แนวโน้มการรับบริการสุขภาพช่องปากของประชากรไทย และความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการ พ.ศ. 2560-2564