แชร์ไปยัง
Facebook

ส่งไปยัง
Email

ดาวน์โหลดไฟล์

รวมสถานการณ์สุขภาพช่องปากที่เด็กวัยเรียนในประเทศไทยต้องเผชิญ

– จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พบปัญหาฟันผุในเด็กวัยเรียน (อายุ 12 ปี) เพิ่มขึ้น 6.2% โดยเด็กวัยเรียนในเขตชนบทมีแนวโน้มฟันผุมากกว่าเด็กในเมือง หรือกรุงเทพมหานคร

– เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปีมีฟันผุสูงถึง 52% หรือเฉลี่ยคนละ 1.4 ซี่ โดยเด็กที่มีปัญหาฟันผุมากจะขาดเรียนมากกว่าเด็กทั่วไป
– การแปรงฟันในวัยเรียน 85% ของโรงเรียนทั่วประเทศมีพื้นที่สำหรับแปรงฟัน, 17% ของเด็กนักเรียนมีอุปกรณ์ในการทำความสะอาดฟัน, 29% ของเด็กชั้น ป.5-6 แปรงฟันทุกวัน และ 15% ไม่เคยแปรง
– เด็กในวัยเรียนกว่า 91% ยังคงเสี่ยงต่อฟันผุจากการจำหน่ายอาหาร ขนม และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง ทั้งในโรงเรียนและรอบโรงเรียน

แนวทางส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน คือการจัดสภาพแวดล้อมที่ลดการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงต่อโรคในช่องปาก ส่งเสริมความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และการได้รับบริการด้านสุขภาพช่องปาก สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากที่ดีในวัยเรียน เช่น
– ลดการกินหวาน จากมื้อหลักและอาหารว่างในโรงเรียน เปลี่ยนของว่างจากขนมเป็นผลไม้ หรือขนมที่อ่อนหวาน เป็นต้น
– สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดช่องปากที่มีคุณภาพ แปรงที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ ฯลฯ พร้อมแนะนำการเก็บดูแลรักษาความสะอาด
– ชวนนักเรียนแปรงฟันหลังมื้ออาหาร ให้ความรู้ว่าหากมีน้ำตาลตกค้างในช่องปาก 20-30 นาทีก็เสี่ยงฟันผุได้แล้ว
– กิจกรรมปลูกผักกินเองในโรงเรียน สร้างความภาคภูมิใจด้านโภชนาการจากน้ำพักน้ำแรงของนักเรียน ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดีอีกด้วย
– ให้ความรู้และทำข้อตกลงร่วมกันกับผู้ประกอบการร้านค้าทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อควบคุมอาหาร ของว่างที่ลดโอกาสเกิดฟันผุ หรือการแนะนำให้ทำความสะอาดเมื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงจนกลายเป็นวัฒนธรรมส่งเสริมสุขภาพ

รู้หรือไม่? เด็กวัยเรียนจะได้รับบริการทางทันตกรรมมากกว่าวัยอื่น ๆ เพราะมีหลายหน่วยงานเข้ามาดูแล เช่น 27% ได้เคลือบหลุมร่องฟัน, 31% ได้อุดฟัน เป็นต้น แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนเป็นสถานที่ที่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพช่องปากในวัยเรียนได้

ที่มา ทพญ.จินตนา อึ้งชูศักดิ์