โครงการพัฒนาเครื่องมือประเมินภาวะ Active ageing สำหรับผู้สูงอายุไทย

รับผิดชอบโครงการโดย : นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล  มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ

สนับสนุนทุนโดย : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

บริหารจัดการโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)

บทคัดย่อ

การประเมินภาวะ Active ageing ในระดับนานาชาติและในระดับชาติที่ผ่านมา เป็นการกำหนดตัวชี้วัดในระดับประเทศ โดยจัดทำเป็นดัชนีรวม (Composite index) ภายใต้ชื่อ ดัชนีพฤฒพลัง โดยไม่ได้เน้นการประเมินภาวะ Active ageing ในระดับบุคคล ทำให้การใช้ประโยชน์ในระดับท้องถิ่นมีอยู่อย่างจำกัด การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือและทดสอบเครื่องมือในการประเมินภาวะ Active ageing (ความมีชีวิตชีวา) ในระดับบุคคล ที่สามารถนาไปใช้ในระดับพื้นที่ ในการส่งเสริมกิจกรรมเสริมสร้างความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุในพื้นที่

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยพัฒนาเครื่องมือประเมินภาวะ Active ageing (ความมีชีวิตชีวา) สาหรับผู้สูงอายุไทย โดยการศึกษาทบทวนองค์ประกอบ และตัวชี้วัดของภาวะ Active ageing ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย นำมาพัฒนาเครื่องมือประเมินภาวะ Active ageing โดยการทบทวนและปรับจากเครื่องมือที่มีอยู่ ร่วมกับความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อได้เครื่องมือแล้ว นำไปทดสอบ ในพื้นที่ 8 จังหวัด (ภาคละ 2 จังหวัด) และทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ใน 1 จังหวัด

ผลการวิจัย ได้องค์ประกอบของความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านรางกาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ ด้านสังคม และด้านความมั่นคง นำมาพัฒนาเครื่องมือ โดยปรับจากเครื่องมือที่มีอยู่ และจากความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และข้อเสนอแนะจากพื้นที่ที่ทำการทดสอบ รวมทั้งผลการทดสอบความเชื่อมั่น ได้คำถามจานวน 25 ข้อ ประกอบด้วย ด้านรางกาย 6 ข้อ ด้านจิตใจ 4 ข้อ ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ 4 ข้อ ด้านสังคม 6 ข้อ และด้านความมั่นคง 5 ข้อ ซึ่งปรับจากร่างแบบประเมินที่ใช้ทดสอบ ที่มีจานวน 39 ข้อ โดยมีการพัฒนาเกณฑ์ในการคำนวณคะแนนและแบ่งระดับความมีชีวิตชีวาในแต่ละด้านและในภาพรวม โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ น้อย ค่อนข้างน้อย ค่อนข้างมาก และมาก หรือคิดเป็นคะแนน 1-4 ทั้งนี้จากการทดสอบเครื่องมือในพื้นที่ 8 จังหวัด พบว่าความมีชีวิตชีวาด้านรางกาย อยู่ที่ 2.75-3.02 ด้านจิตใจ อยู่ที่ 3.05-3.57 ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ อยู่ที่ 3.22-3.52 ด้านสังคม อยู่ที่ 2.28-2.82 และด้านความมั่นคง อยู่ที่ 2.60-3.16 โดยสัดส่วนความมีชีวิตชีวา ด้านรางกาย ในระดับน้อย อยู่ที่ร้อยละ 7-20 ด้านจิตใจ อยู่ที่ร้อยละ 1-15 ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ อยู่ที่ร้อยละ 1-7 ด้านสังคม อยู่ที่ร้อยละ 19-36 และด้านความมั่นคง อยู่ที่ร้อยละ 1-12 ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าผู้สูงอายุมีสัดส่วนความมีชีวิตชีวาในระดับน้อย ในด้านสังคม และด้านรางกาย มากกว่าด้านจิตใจ ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ และด้านความมั่นคง และพบว่าความมีชีวิตชีวา ของกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง มีความแตกต่างกันในด้านรางกาย และด้านสังคม มากกว่า ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ และด้านความมั่นคง

สรุปผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ จานวน 25 ข้อ สามารถนำไปใช้ในการประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ ระดับบุคคล และระดับชุมชนได้ โดยการพัฒนาโปรแกรมแบบ web responsive จะช่วยในการบันทึกข้อมูลและแสดงผลการประเมิน เป็นการสะท้อนขนาดของประชากรที่จำแนกตามระดับของความมีชีวิตชีวา ช่วยในการติดตามและพัฒนาความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุในพื้นที่ โดยสามารถเริ่มจากพื้นที่หรือหน่วยงานที่มีความสนใจหรือมีความพร้อม แล้วจึงขยายผลต่อไปในพื้นที่อื่น

คำสำคัญ: ความมีชีวิตชีวา ดัชนีรวม ดัชนีพฤฒพลัง เครื่องมือประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ