คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์เรื่องโรคไม่ติดต่อ ครั้งที่ 1/2562
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562
ณ ห้องประชุมชั้น 1 มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
เกริ่นนำ
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) เกริ่นนำการพัฒนา NCDs Policy Plateform จากประสบการณ์ทำงาน evidence base policy management ความสำคัญอยู่ที่กระบวนการ interactive และพัฒนาโมเดลความร่วมมือ และทำงานกับนักรณรงค์ในกระทรวงต่างๆ แพลตฟอร์มการทำงานมี 3 กลุ่มยุทธศาสตร์ (1) core team ผู้มีความรู้ประสบการณ์นโยบายสาธารณะ NCDs ในประเทศไทย และผู้นำขับเคลื่อนวิเคราะห์ knowledge gap Movement gap ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญการทำงาน (2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายประเด็น และกระบวนการ engaged ทำได้หลายรูปแบบ (3) knowledge gap การทำงานวิชาการมี evidence และ recognition เป็นการทบทวนและหารือกระบวนการจะสร้างอิทธิพลต่อผู้กำหนดนโยบายอย่างไร
ดร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ รองผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค อธิบายภาคีการดำเนินงาน NCDs ในโรงเรียน กรมอนามัยร่วมมือกับสพฐ. ทำโครงการโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมไปนำเสนอประชุม Working Group ทำมาตรการหลายรอบแต่พอผลักดันทำนโยบายและขยายมันไม่ได้ ทพญ.จิราพร ขีดดี กรมอนามัยเสนอ แนวคิดที่ใช้ในการทำกิจกรรรม และเครื่องมือ วิธีการวิเคราะห์การเสริมแรงและอุปสรรคและ มี IHPP ทบทวนศึกษาเกณฑ์ประเมินโรงเรียนเปรียบเทียบมาตรการมานำเสนอ
การเฝ้าระวังทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงกลุ่มเด็กวัยเรียน ปี 2559-2561 การบริโภคน้ำตาลและความถี่ของการบริโภคน้ำตาล
ทพญ.จิราพร ขีดดี ผู้เชี่ยวชาญ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอสรุปรายงานดังกล่าวถึงช่องว่างและอุปสรรคของการขับเคลื่อนการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อโรค NCDs ในโรงเรียน ดังนี้
ภาพที่ 1 รายงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงกลุ่มเด็กวัยเรียน ปี 2559-2661 สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
สรุปภาพรวมจังหวัดที่ดำเนินงานโครงการ สพป.อ่อนหวาน (2552-2558) การขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ภายหลังออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการในปี 2552 มีการทำหนังสือขอความสมัครใจร่วมโครงการปัจจุบันมีสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่อนหวาน หรือ สพป. อ่อนหวาน รวม 139 แห่งจาก สพป.ทั้งหมด 183 แห่ง ทั่วประเทศ และมีจังหวัดที่ดำเนินการ สพป. อ่อนหวานผ่านเกณฑ์ครบทั้งจังหวัดจำนวน 47 จังหวัด ซึ่งจากการถอดบทเรียนการดำเนินงาน มีข้อเสนอจากผู้บริหารระดับสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ว่าหากมีนโยบายระดับประเทศครอบคลุมทุกโรงเรียน เช่น กฎระทรวงศึกษาธิการในการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มและอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพก็จะทำให้สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอาหารในโรงเรียนครอบคลุมทั้งประเทศ
ภาพที่ 2 รายงานการวิจัยระบบอนามัยโรงเรียนที่มีคุณภาพ 2561 กรมอนามัย ภาพที่ 3 รายงานการวิจัยระบบอนามัยโรงเรียน พ.ศ. 2561 กรมอนามัย
จากการสำรวจพบว่า ภาวะอ้วนในเด็กนักเรียนชายร้อยละ 16 และนักเรียนหญิงร้อยละ 8.7 จากจำนวนประชากรเด็กทั้งหมด การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ด้าน (1) งานบูรณาการกับกระทรวงศึกษาธิการ (2) นิเทศติดตามจากกรมอนามัย (3) ฐานข้อมูลร่วมเชื่อมข้อมูลสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายโรงเรียน โรงเรียนเด็กไทยฟันดี เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนสุขภาพประจำตำบล โรงเรียนต้นแบบโภชนาการ ChoPA-ChiPA
ช่องว่างและอุปสรรคของการขับเคลื่อนการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อโรค NCDs ในโรงเรียน E-I-S-K
Effective ขยายผลไม่ได้ในมิติที่ภาคีนำรูปแบบไปพัฒนาใช้จนครอบคลุมพื้นที่ หรือกลุ่มประชากร โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่และอยู่ในเขตเมืองทำไม่ได้ เสนอแนะให้ทำกฎกระทรวงแทนที่ระบบสมัครใจ Intervention การผลักดันให้มีการควบคุมการตลาดอาหารในโรงเรียนยังไม่ชัดเจนและติดกับเรื่องการขยายผล Scaled up การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนยังไม่เชื่อมโยงถึงครอบครัวและชุมชน ในการส่งผลต่อเด็กนักเรียนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ การเฝ้าระวังตนเอง และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสุขภาพดี ควบคุมอาหารในโรงเรียนผลักดันแต่ไปไม่ถึงผลลัพธ์ Key Message การสื่อสารสำคัญที่ส่งไปถึงกลุ่มเป้าหมาย ช่องทางที่ครอบคลุม และมีประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
โครงการนักเรียนไทยสุขภาพดี
นางอัจฉราภรณ์ ตั้งอุทัยสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน (สพฐ.) ให้ข้อมูลว่า จากหลักการและเหตุผลที่กล่าวมานั้น สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 มาตรา 6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น จึงได้ดำเนินงานด้านสุขภาพซึ่งกำหนดเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพลงในหลักสูตรการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เชื่อมโยงสู่แนวปฏิบัติโดยสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียนในโครงการ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” ประกอบด้วยเกณฑ์มาตรฐาน 5 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ
มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานด้านโภชนาและอาหารที่ปลอดภัย
มาตรฐานที่ 3 มาตรฐานด้านการออกกาลังกาย กีฬาและนันทนาการ
มาตรฐานที่ 4 มาตรฐานด้านทันตสุขภาพ
มาตรฐานที่ 5 มาตรฐานด้านการมีส่วนร่วม
ภาพที่ 4 โครงการนักเรียนไทยสุขภาพดี สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียนสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
การทบทวนเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและนักเรียนไทยสุขภาพดีโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
คุณณัฎฐณิชา แปงจาริยา จากแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ จากสำนักงานพัฒนาสุขภาพระหว่างประเทศ IHPP นำเสนอผลการทบทวน โดยเป็นโครงการที่มีเจ้าภาพเป็นสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย เริ่มตั้งแต่ปี 2541 สืบเนื่องจากการทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก ปัจจุบันมีโรงเรียนในโครงการสามหมื่นกว่าแห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนระดับเพชร 30 โรงเรียนในปี 2561 มีเป้าประสงค์ในนักเรียน โรงเรียนและชุมชนสามารถดูแลสุขภาพได้ และเป็นการดำเนินโครงการที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของการพัฒนาสุขภาพกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นของกระทรวง สาธารณสุข ส่วนโครงการนักเรียนไทยสุขภาพดีอยู่ภายในการดูแลของสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจุบันมีโรงเรียนต้นแบบเป็นรุ่นที่ 5 จำนวน 273 ร.ร. โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสุขภาพ บุคลากร โดยเป็นการดำเนินโครงการในลักษณะการประเมินและให้ข้อเสนอการดำเนินงาน ไม่ใช่การสร้าง intervention ในโรงเรียน
โดยทั้งสองโครงการนี้มีจำนวนองค์ประกอบการดำเนินงานที่ต่างกัน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนั้นมี 10 องค์ประกอบ ส่วน โรงเรียนนักเรียนไทยสุขภาพดีมีเพียง 5 องค์ โดยองค์ประกอบที่เหมือนกัน ก็คือส่วนที่มีเพียงในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้แก่ เรื่องการกำหนดนโยบายโรงเรียน การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน การบริการสุขภาพในโรงเรียน การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งแม้จะมีองค์ประกอบต่างกันแต่ตัวชี้วัดหลายตัวก็คล้ายคลึงกันสิบด้านดังภาพที่ 5-15
ภาพที่ 5 – 11
ร่างพรบ. (ร่าง1) กฎกระทรวง ว่าด้วยการจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ส่งเสริมสุขภาพ ในสถานศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2562 มีประเด็นเรื่องเจตารมณ์ของกฎกระทรวง เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายและหลักการตามมาตรา 6โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับแก่สถานศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานตามความในมาตรา 16 วรรคสอง และมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทุกสังกัด
ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้ สถานศึกษา หมายถึง สถานศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
สถานศึกษาควรนำเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดีที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ส่งเสริมสุขภาพมาใช้ดำเนินการ
ข้อ 5 สถานศึกษาต้องไม่จัดหาหรือจัดให้มีการจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยฉลากอาหารและเครื่องดื่ม
ข้อ 6 สถานศึกษาต้องไม่อนุญาตให้มีการจำหน่ายอาหารว่างหรือเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายอัตโนมัติในสถานศึกษาและควรกำหนดเวลาในการจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม
ข้อ 7 สถานศึกษาต้องไม่อนุญาตให้มีการส่งเสริมการตลาดอาหารว่างและเครื่องดื่มทุกลักษณะในสถานศึกษา เช่น การแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ การติดป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การใช้ทรัพยากรหรือบุคคลจากบริษัทเข้าสนับสนุนกิจกรรมในสถานศึกษา การสนับสนุนทุนกิจกรรมในสถานศึกษา เป็นต้น
ข้อสรุปบทเรียนการทำงานสำคัญ
ประเด็นโมเดลการทำงานลด NCDsในโรงเรียนในระดับโครงการและกิจกรรม ยังขาดความเชื่อมโยงส่งต่อผลลัพธ์ระหว่างกิจกรรมภายใต้โครงการ ช่องว่างความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างความหนักแน่นให้ปัญหา ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5 สสส.) กล่าวถึงการพัฒนาโมเดลลด NCDs ในโรงเรียนระดับโครงการซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันมีหลากหลายกระทรวงเข้าไปทำงานไม่เฉพาะสสส. ยังขาดการบูรณาการการทำงาน นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ เสนอว่าหน่วยงานต้องแพคเก็จโครงการเพื่อไม่เป็นภาะแก่โรงเรียน รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ การขับเคลื่อนต้องอาศัยโครงสร้างกฎบังคับ วินัยการดำรงชีวิต ส่วนที่ต้องสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพต้องสอดคล้องกิจกรรมในโรงเรียน กิจกรรมต้องมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม โน้มน้าวด้วยการสร้างภาพจำลองของโรคไต และบูรณาการตัวชี้วัด
ประเด็นกฎหมายนโยบายมหภาคระดับกระทรวง ยังมีช่องว่างของการลงสู่แผนปฏิบัติการระดับโรงเรียน (Micro Policy) ประเด็นสำคัญคือ กฎกระทรวงเป็นเครื่องมือทางนโยบายที่สำคัญที่เอื้อให้เกิดกลไกจัดการข่ายงานจากภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามาร่วมมือกันจัดภารกิจร่วมทั้งในด้านปัญหา เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายระดับท้องถิ่นได้วางกรอบการพัฒนา และรับรองโครงการ และแผนปฏิบัติการเป็นจุดสำคัญ (Critical Path) แม้มีการประกาศกฎกระทรวงมาตั้งแต่ 2554 แต่ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยการให้บริการจากโรงเรียนและทางการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น หากแต่ต้องทำร่วมกัน นโยบายระดับท้องถิ่น โรงเรียน ประชาคม สมาคมผู้ปกครอง โรงพยาบาล ต้องบูรณาการขับเคลื่อนด้วย
ประเด็นกรอบความเข้าใจเกณฑ์หรือมาตรการ บริบทของโรงเรียนมีส่วนบ่งชี้ปัจจัยสำเร็จและล้มเหลว กฎกระทรวงพอใช้เกณฑ์ระบบ “สมัครใจ” จะปะทะกับ KIS – AIS ตัวชี้วัดของกระทรวง KIS ในปี 2559 จุดนี้เป็นช่องว่างผู้ตัดสินใจทางนโยบายที่ไม่สามารถโน้มน้าวให้ผู้บริหารโรงเรียนมาเป็นเจ้าของงานและขับเคลื่อนต่อได้ ดังนั้น ควรทำ Harmonized ตัวชี้วัด สร้างการทดลองที่เป็น science basic เป็นรูปธรรมมากกว่าเป็นข้อคิดเห็น แนวคิดการทำงานของสพฐ. และโรงเรียนล้อมรั้วด้วยชุมชนสัมพันธ์กับกระบวนการ หนึ่ง ความคิด ตัวชี้วัดและวัตถุประสงค์ไปสู่การบรรลุเป้าหมายหรือไม่ สอง การมีความรอบรู้ทางสุขภาพ สาม evidence base เป็น setting ที่ต้องสร้างความร่วมมือโรงเรียนสุขภาพเป็นองค์รวม “holistic Approach”การควบคุมของขบเคี้ยวเกินขอบเขตของโรงเรียน โดยนอกโรงเรียนต้องไปร่วมมือกับ setting อื่น
นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากรเสนอเกณฑ์สุขภาพองค์รวมร่วมกันเพื่อให้แต่ละมหาวิทยาลัยนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและเงื่อนไข AUN Healthy University Framework ดังภาพที่ 16
ภาพที่ 16 AUN-Health Promotion Network Mahidol University, Thailand 2017
ประเด็นกลไกการทำงานในกลุ่มเป้าหมายเดียวกันมี Argument ว่าสภาพแวดล้อมเด็กอยู่กับตายาย เด็กเลือกกินไม่ได้ มาตรฐานของทุกโรงเรียนคุณภาพเป็นอย่างไร วิเคราะห์การใช้กลไกสมาคมผู้ปกครองจะเข้าเสริมการขับเคลื่อนได้หรือไม่ หรือ หากไปใช้ช่องระบบสุขภาพตำบล หรือ คณะกรรมการระบบสุขภาพอำเภอทำหน้าที่บูรณาการตัวชี้วัด โดยมีผู้ประสานงานเป็นกรมอนามัยได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามเสนอควรเป็นกฎกระทรวงออกไปเพื่อสร้างการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลด NCDs ให้ความรู้ Health Literacy และข้อกำหนดเหล่านี้ไปดูแต่ละหน่วยงาน Implementation อย่างไร
ข้อเสนอแนะ
- การพัฒนาโมเดลลด NCDs ในโรงเรียนควรปรับเปลี่ยนการจัดข่ายความร่วมมือ (Collaboration) กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเพื่อให้เกิดการบูรณาการภารกิจการป้องกันควบคุม NCDs เข้ากับ ภาระงานของภาคีข่ายงานต่างๆ ที่มีบทบาทหน้าที่ให้บริการทางสังคม ครู รพ. และสิ่งแวดล้อม แต่ประเด็นการทำงานที่ผ่านแสดงว่ายังไม่สามารถพัฒนาโมเดลได้ เพราะโมเดลต้องมีการวัดประสิทธิผลที่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า ผลรวมที่เกิดขึ้นมาจากแต่ละกิจกรรมที่ภาคีร่วมกันทำและปรับปรุงจนมีคุณภาพ และจะขยายผลได้ โรงเรียนมีศักยภาพจัดการกับปัญหาที่มีเหตุปัจจัยซับซ้อน ให้เป็นข่ายงานภาคีที่จัดการกับ เงื่อนไขต่างๆ ของปัญหา ได้อย่างต่อเนื่อง
- ช่องว่างความรู้สามารถทำได้ 2 แนวทาง (2.1) ทบทวนความรู้กรณีญี่ปุ่น และ สหรับอเมริกามีการจัดสภาพแวดล้อมแล้วเด็กอ้วนน้อยลงจริงอย่างไร การทบทวนนโยบายมหาภาค ยกตัวอย่าง พรบ.บุหรี่ แอลกอฮอล ถนนปลอดภัย ซึ่งเป็นนโยบายมหภาคซึ่ง deploy ผ่านโรงเรียน ส่วนนโยบายจุลภาคคือ การแนะนำแก่ประชากรเป้าหมาย ซึ่งญี่ปุ่นเก่งเรื่องนโยบายจุลภาคมาก งานวิจัย ทบทวนพฤติกรรมของเด็กในอนาคตในโรงเรียน และ นอกโรงเรียน งานที่ทำวิจัยได้ (2.2) นักวิชาการเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมศึกษาพฤติกรรมอย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์ (2.3) บริบทของโรงเรียน ทำไมเด็กนักเรียนไม่มีทางเลือก กรณีงานวิจัย Child dietary สามารถทำวิจัยได้ 3 ข้อ สิ่งที่เราทำไปลดปัญหาอย่างไร และ Rethink outcome ที่เราอยากได้ พฤติกรรมเด็ก และ ปัญหา implementation การเลือก setting เลือกเทอมของ behavior of Change เลือกเอามาคุยเพราะว่าอะไร reaffirm recommendation
- การทบทวนเกณฑ์เหล่านี้ส่งผลต่อ Implementation มีประสิทธิผลอย่างไร การมีส่วนร่วมของชุมชนมีส่วนช่วยเรื่อง Health Promotion มีกิจกรรมที่ส่งเสริมอย่างไรบ้าง และมีกลไกอย่างไร เวลาเสนอนโยบายมหภาคมีองค์ประกอบเป็น Technician group และกลุ่มนโยบายและแผน ที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจของสพฐ. และฝ่ายนิติบัญญัติช่วยในการปรับเปลี่ยน mind set ทางแก้ไขเป็นอย่างไรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การทำกระบวนการทางนโยบาย engagement process & engagement strategies ในกรณีนี้อาจสำคัญกว่าการทำเนื้อหา ดังนั้นการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เวลาเชิญวิทยากรเชิงประเด็นอาจต้องเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ที่ input ได้มีเนื้อหามาด้วย มีความรู้ รู้วงใน และช่วยคิดได้ ส่วนหนึ่งทบทวนความรู้ street food และร้านอาหาร
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
งานต่อเนื่องที่ควรทำ ทบทวนงานศึกษาสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เด็กในโรงเรียนลด NCDs มาประเมินกับภาพการทำงานระหว่างกระทรวง โดยการขับเคลื่อนนโยบายเชิงประเด็นเลือกเรื่องหารือเพื่อ converse ช่องว่างของความรู้และช่องว่างการขับเคลื่อน แล้วสิ่งที่ควรเอามานำเสนอนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมที่อยู่เศรษฐศาสตร์จุฬาฯ มานำเสนอ และ Evidence base ลองรีวิวของฝั่งอังกฤษ พวก health economic เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชวนอาจารย์ที่มหิดลที่ทำเรื่อง Policy Behavior Economic & Behavior economic foundation มาร่วมหารือต่อไป
——————————————–
สุมนมาลย์ สิงหะ สรุป/เรียบเรียง