คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์เรื่องโรคไม่ติดต่อ ครั้งที่ 1/2562

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562
ณ ห้องประชุมชั้น 1 มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

เกริ่นนำ

นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) เกริ่นนำการพัฒนา NCDs Policy Plateform จากประสบการณ์ทำงาน evidence base policy management ความสำคัญอยู่ที่กระบวนการ interactive และพัฒนาโมเดลความร่วมมือ และทำงานกับนักรณรงค์ในกระทรวงต่างๆ แพลตฟอร์มการทำงานมี 3 กลุ่มยุทธศาสตร์  (1) core team ผู้มีความรู้ประสบการณ์นโยบายสาธารณะ NCDs ในประเทศไทย และผู้นำขับเคลื่อนวิเคราะห์ knowledge gap Movement gap  ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญการทำงาน (2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายประเด็น และกระบวนการ engaged ทำได้หลายรูปแบบ (3) knowledge gap การทำงานวิชาการมี  evidence และ recognition เป็นการทบทวนและหารือกระบวนการจะสร้างอิทธิพลต่อผู้กำหนดนโยบายอย่างไร

ดร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ รองผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค อธิบายภาคีการดำเนินงาน NCDs ในโรงเรียน กรมอนามัยร่วมมือกับสพฐ. ทำโครงการโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมไปนำเสนอประชุม Working Group ทำมาตรการหลายรอบแต่พอผลักดันทำนโยบายและขยายมันไม่ได้  ทพญ.จิราพร ขีดดี   กรมอนามัยเสนอ แนวคิดที่ใช้ในการทำกิจกรรรม และเครื่องมือ วิธีการวิเคราะห์การเสริมแรงและอุปสรรคและ มี IHPP ทบทวนศึกษาเกณฑ์ประเมินโรงเรียนเปรียบเทียบมาตรการมานำเสนอ

การเฝ้าระวังทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงกลุ่มเด็กวัยเรียน ปี 2559-2561 การบริโภคน้ำตาลและความถี่ของการบริโภคน้ำตาล

ทพญ.จิราพร ขีดดี  ผู้เชี่ยวชาญ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  นำเสนอสรุปรายงานดังกล่าวถึงช่องว่างและอุปสรรคของการขับเคลื่อนการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อโรค NCDs ในโรงเรียน ดังนี้

ภาพที่ 1 รายงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงกลุ่มเด็กวัยเรียน ปี 2559-2661 สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

สรุปภาพรวมจังหวัดที่ดำเนินงานโครงการ สพป.อ่อนหวาน (2552-2558) การขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ภายหลังออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการในปี 2552 มีการทำหนังสือขอความสมัครใจร่วมโครงการปัจจุบันมีสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่อนหวาน หรือ สพป. อ่อนหวาน รวม 139 แห่งจาก สพป.ทั้งหมด 183 แห่ง ทั่วประเทศ และมีจังหวัดที่ดำเนินการ สพป. อ่อนหวานผ่านเกณฑ์ครบทั้งจังหวัดจำนวน 47 จังหวัด ซึ่งจากการถอดบทเรียนการดำเนินงาน มีข้อเสนอจากผู้บริหารระดับสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ว่าหากมีนโยบายระดับประเทศครอบคลุมทุกโรงเรียน เช่น กฎระทรวงศึกษาธิการในการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มและอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพก็จะทำให้สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอาหารในโรงเรียนครอบคลุมทั้งประเทศ

               

               ภาพที่ 2  รายงานการวิจัยระบบอนามัยโรงเรียนที่มีคุณภาพ 2561 กรมอนามัย                    ภาพที่ 3  รายงานการวิจัยระบบอนามัยโรงเรียน พ.ศ. 2561 กรมอนามัย

จากการสำรวจพบว่า ภาวะอ้วนในเด็กนักเรียนชายร้อยละ 16 และนักเรียนหญิงร้อยละ 8.7 จากจำนวนประชากรเด็กทั้งหมด การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ด้าน (1) งานบูรณาการกับกระทรวงศึกษาธิการ (2) นิเทศติดตามจากกรมอนามัย (3) ฐานข้อมูลร่วมเชื่อมข้อมูลสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายโรงเรียน โรงเรียนเด็กไทยฟันดี เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนสุขภาพประจำตำบล โรงเรียนต้นแบบโภชนาการ ChoPA-ChiPA

ช่องว่างและอุปสรรคของการขับเคลื่อนการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อโรค NCDs ในโรงเรียน E-I-S-K

Effective ขยายผลไม่ได้ในมิติที่ภาคีนำรูปแบบไปพัฒนาใช้จนครอบคลุมพื้นที่ หรือกลุ่มประชากร โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่และอยู่ในเขตเมืองทำไม่ได้ เสนอแนะให้ทำกฎกระทรวงแทนที่ระบบสมัครใจ Intervention  การผลักดันให้มีการควบคุมการตลาดอาหารในโรงเรียนยังไม่ชัดเจนและติดกับเรื่องการขยายผล Scaled up การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนยังไม่เชื่อมโยงถึงครอบครัวและชุมชน ในการส่งผลต่อเด็กนักเรียนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ การเฝ้าระวังตนเอง และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสุขภาพดี ควบคุมอาหารในโรงเรียนผลักดันแต่ไปไม่ถึงผลลัพธ์ Key Message การสื่อสารสำคัญที่ส่งไปถึงกลุ่มเป้าหมาย ช่องทางที่ครอบคลุม และมีประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

โครงการนักเรียนไทยสุขภาพดี

นางอัจฉราภรณ์ ตั้งอุทัยสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน (สพฐ.) ให้ข้อมูลว่า จากหลักการและเหตุผลที่กล่าวมานั้น สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 มาตรา 6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น จึงได้ดำเนินงานด้านสุขภาพซึ่งกำหนดเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพลงในหลักสูตรการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เชื่อมโยงสู่แนวปฏิบัติโดยสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียนในโครงการ “นักเรียนไทยสุขภาพดี” ประกอบด้วยเกณฑ์มาตรฐาน 5 มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ

มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานด้านโภชนาและอาหารที่ปลอดภัย

มาตรฐานที่ 3 มาตรฐานด้านการออกกาลังกาย กีฬาและนันทนาการ

มาตรฐานที่ 4 มาตรฐานด้านทันตสุขภาพ

มาตรฐานที่ 5 มาตรฐานด้านการมีส่วนร่วม

ภาพที่ 4  โครงการนักเรียนไทยสุขภาพดี สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียนสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

การทบทวนเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและนักเรียนไทยสุขภาพดีโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

คุณณัฎฐณิชา แปงจาริยา จากแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ จากสำนักงานพัฒนาสุขภาพระหว่างประเทศ IHPP นำเสนอผลการทบทวน โดยเป็นโครงการที่มีเจ้าภาพเป็นสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย เริ่มตั้งแต่ปี 2541 สืบเนื่องจากการทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลก ปัจจุบันมีโรงเรียนในโครงการสามหมื่นกว่าแห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนระดับเพชร 30 โรงเรียนในปี 2561 มีเป้าประสงค์ในนักเรียน โรงเรียนและชุมชนสามารถดูแลสุขภาพได้ และเป็นการดำเนินโครงการที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของการพัฒนาสุขภาพกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นของกระทรวง สาธารณสุข ส่วนโครงการนักเรียนไทยสุขภาพดีอยู่ภายในการดูแลของสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจุบันมีโรงเรียนต้นแบบเป็นรุ่นที่ 5 จำนวน 273 ร.ร. โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสุขภาพ   บุคลากร โดยเป็นการดำเนินโครงการในลักษณะการประเมินและให้ข้อเสนอการดำเนินงาน ไม่ใช่การสร้าง intervention ในโรงเรียน

โดยทั้งสองโครงการนี้มีจำนวนองค์ประกอบการดำเนินงานที่ต่างกัน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนั้นมี 10 องค์ประกอบ ส่วน โรงเรียนนักเรียนไทยสุขภาพดีมีเพียง 5 องค์ โดยองค์ประกอบที่เหมือนกัน ก็คือส่วนที่มีเพียงในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้แก่ เรื่องการกำหนดนโยบายโรงเรียน การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน การบริการสุขภาพในโรงเรียน การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งแม้จะมีองค์ประกอบต่างกันแต่ตัวชี้วัดหลายตัวก็คล้ายคลึงกันสิบด้านดังภาพที่ 5-15

ภาพที่ 5 – 11

ร่างพรบ. (ร่าง1) กฎกระทรวง ว่าด้วยการจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ส่งเสริมสุขภาพ ในสถานศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2562 มีประเด็นเรื่องเจตารมณ์ของกฎกระทรวง เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายและหลักการตามมาตรา 6โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับแก่สถานศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานตามความในมาตรา 16 วรรคสอง และมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทุกสังกัด

ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้  สถานศึกษา หมายถึง สถานศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

สถานศึกษาควรนำเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดีที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ส่งเสริมสุขภาพมาใช้ดำเนินการ

ข้อ 5 สถานศึกษาต้องไม่จัดหาหรือจัดให้มีการจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยฉลากอาหารและเครื่องดื่ม

ข้อ 6 สถานศึกษาต้องไม่อนุญาตให้มีการจำหน่ายอาหารว่างหรือเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายอัตโนมัติในสถานศึกษาและควรกำหนดเวลาในการจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม

ข้อ 7 สถานศึกษาต้องไม่อนุญาตให้มีการส่งเสริมการตลาดอาหารว่างและเครื่องดื่มทุกลักษณะในสถานศึกษา เช่น การแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ การติดป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การใช้ทรัพยากรหรือบุคคลจากบริษัทเข้าสนับสนุนกิจกรรมในสถานศึกษา การสนับสนุนทุนกิจกรรมในสถานศึกษา เป็นต้น

ข้อสรุปบทเรียนการทำงานสำคัญ

ประเด็นโมเดลการทำงานลด NCDsในโรงเรียนในระดับโครงการและกิจกรรม ยังขาดความเชื่อมโยงส่งต่อผลลัพธ์ระหว่างกิจกรรมภายใต้โครงการ ช่องว่างความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างความหนักแน่นให้ปัญหา ดร.นพ.ไพโรจน์  เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5 สสส.) กล่าวถึงการพัฒนาโมเดลลด NCDs ในโรงเรียนระดับโครงการซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันมีหลากหลายกระทรวงเข้าไปทำงานไม่เฉพาะสสส. ยังขาดการบูรณาการการทำงาน นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ เสนอว่าหน่วยงานต้องแพคเก็จโครงการเพื่อไม่เป็นภาะแก่โรงเรียน รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ การขับเคลื่อนต้องอาศัยโครงสร้างกฎบังคับ วินัยการดำรงชีวิต ส่วนที่ต้องสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพต้องสอดคล้องกิจกรรมในโรงเรียน กิจกรรมต้องมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม โน้มน้าวด้วยการสร้างภาพจำลองของโรคไต และบูรณาการตัวชี้วัด

ประเด็นกฎหมายนโยบายมหภาคระดับกระทรวง ยังมีช่องว่างของการลงสู่แผนปฏิบัติการระดับโรงเรียน  (Micro Policy) ประเด็นสำคัญคือ กฎกระทรวงเป็นเครื่องมือทางนโยบายที่สำคัญที่เอื้อให้เกิดกลไกจัดการข่ายงานจากภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามาร่วมมือกันจัดภารกิจร่วมทั้งในด้านปัญหา เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายระดับท้องถิ่นได้วางกรอบการพัฒนา และรับรองโครงการ และแผนปฏิบัติการเป็นจุดสำคัญ (Critical Path) แม้มีการประกาศกฎกระทรวงมาตั้งแต่ 2554 แต่ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยการให้บริการจากโรงเรียนและทางการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น หากแต่ต้องทำร่วมกัน นโยบายระดับท้องถิ่น โรงเรียน ประชาคม สมาคมผู้ปกครอง โรงพยาบาล ต้องบูรณาการขับเคลื่อนด้วย

ประเด็นกรอบความเข้าใจเกณฑ์หรือมาตรการ บริบทของโรงเรียนมีส่วนบ่งชี้ปัจจัยสำเร็จและล้มเหลว กฎกระทรวงพอใช้เกณฑ์ระบบ “สมัครใจ” จะปะทะกับ  KIS – AIS ตัวชี้วัดของกระทรวง KIS ในปี 2559 จุดนี้เป็นช่องว่างผู้ตัดสินใจทางนโยบายที่ไม่สามารถโน้มน้าวให้ผู้บริหารโรงเรียนมาเป็นเจ้าของงานและขับเคลื่อนต่อได้  ดังนั้น ควรทำ  Harmonized ตัวชี้วัด สร้างการทดลองที่เป็น science basic เป็นรูปธรรมมากกว่าเป็นข้อคิดเห็น แนวคิดการทำงานของสพฐ. และโรงเรียนล้อมรั้วด้วยชุมชนสัมพันธ์กับกระบวนการ หนึ่ง ความคิด  ตัวชี้วัดและวัตถุประสงค์ไปสู่การบรรลุเป้าหมายหรือไม่ สอง การมีความรอบรู้ทางสุขภาพ  สาม evidence base  เป็น setting ที่ต้องสร้างความร่วมมือโรงเรียนสุขภาพเป็นองค์รวม “holistic Approach”การควบคุมของขบเคี้ยวเกินขอบเขตของโรงเรียน โดยนอกโรงเรียนต้องไปร่วมมือกับ setting อื่น

นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากรเสนอเกณฑ์สุขภาพองค์รวมร่วมกันเพื่อให้แต่ละมหาวิทยาลัยนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและเงื่อนไข AUN Healthy University Framework  ดังภาพที่ 16

ภาพที่ 16 AUN-Health Promotion Network Mahidol University, Thailand 2017

ประเด็นกลไกการทำงานในกลุ่มเป้าหมายเดียวกันมี Argument ว่าสภาพแวดล้อมเด็กอยู่กับตายาย เด็กเลือกกินไม่ได้ มาตรฐานของทุกโรงเรียนคุณภาพเป็นอย่างไร วิเคราะห์การใช้กลไกสมาคมผู้ปกครองจะเข้าเสริมการขับเคลื่อนได้หรือไม่ หรือ หากไปใช้ช่องระบบสุขภาพตำบล หรือ คณะกรรมการระบบสุขภาพอำเภอทำหน้าที่บูรณาการตัวชี้วัด โดยมีผู้ประสานงานเป็นกรมอนามัยได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามเสนอควรเป็นกฎกระทรวงออกไปเพื่อสร้างการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลด NCDs ให้ความรู้ Health Literacy และข้อกำหนดเหล่านี้ไปดูแต่ละหน่วยงาน Implementation อย่างไร

ข้อเสนอแนะ

  1. การพัฒนาโมเดลลด NCDs ในโรงเรียนควรปรับเปลี่ยนการจัดข่ายความร่วมมือ (Collaboration) กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเพื่อให้เกิดการบูรณาการภารกิจการป้องกันควบคุม NCDs เข้ากับ ภาระงานของภาคีข่ายงานต่างๆ ที่มีบทบาทหน้าที่ให้บริการทางสังคม ครู รพ. และสิ่งแวดล้อม แต่ประเด็นการทำงานที่ผ่านแสดงว่ายังไม่สามารถพัฒนาโมเดลได้ เพราะโมเดลต้องมีการวัดประสิทธิผลที่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า ผลรวมที่เกิดขึ้นมาจากแต่ละกิจกรรมที่ภาคีร่วมกันทำและปรับปรุงจนมีคุณภาพ และจะขยายผลได้ โรงเรียนมีศักยภาพจัดการกับปัญหาที่มีเหตุปัจจัยซับซ้อน ให้เป็นข่ายงานภาคีที่จัดการกับ เงื่อนไขต่างๆ ของปัญหา ได้อย่างต่อเนื่อง
  2. ช่องว่างความรู้สามารถทำได้ 2 แนวทาง (2.1) ทบทวนความรู้กรณีญี่ปุ่น และ สหรับอเมริกามีการจัดสภาพแวดล้อมแล้วเด็กอ้วนน้อยลงจริงอย่างไร การทบทวนนโยบายมหาภาค ยกตัวอย่าง พรบ.บุหรี่ แอลกอฮอล ถนนปลอดภัย ซึ่งเป็นนโยบายมหภาคซึ่ง deploy ผ่านโรงเรียน ส่วนนโยบายจุลภาคคือ การแนะนำแก่ประชากรเป้าหมาย ซึ่งญี่ปุ่นเก่งเรื่องนโยบายจุลภาคมาก  งานวิจัย ทบทวนพฤติกรรมของเด็กในอนาคตในโรงเรียน และ นอกโรงเรียน งานที่ทำวิจัยได้ (2.2) นักวิชาการเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมศึกษาพฤติกรรมอย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์ (2.3) บริบทของโรงเรียน ทำไมเด็กนักเรียนไม่มีทางเลือก กรณีงานวิจัย Child dietary   สามารถทำวิจัยได้ 3 ข้อ สิ่งที่เราทำไปลดปัญหาอย่างไร และ Rethink outcome ที่เราอยากได้ พฤติกรรมเด็ก และ ปัญหา implementation การเลือก setting เลือกเทอมของ behavior of Change เลือกเอามาคุยเพราะว่าอะไร  reaffirm recommendation
  3. การทบทวนเกณฑ์เหล่านี้ส่งผลต่อ Implementation มีประสิทธิผลอย่างไร การมีส่วนร่วมของชุมชนมีส่วนช่วยเรื่อง Health Promotion มีกิจกรรมที่ส่งเสริมอย่างไรบ้าง และมีกลไกอย่างไร เวลาเสนอนโยบายมหภาคมีองค์ประกอบเป็น Technician group  และกลุ่มนโยบายและแผน  ที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจของสพฐ. และฝ่ายนิติบัญญัติช่วยในการปรับเปลี่ยน mind set ทางแก้ไขเป็นอย่างไรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  4. การทำกระบวนการทางนโยบาย engagement process & engagement strategies ในกรณีนี้อาจสำคัญกว่าการทำเนื้อหา ดังนั้นการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เวลาเชิญวิทยากรเชิงประเด็นอาจต้องเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ที่ input ได้มีเนื้อหามาด้วย มีความรู้  รู้วงใน และช่วยคิดได้ ส่วนหนึ่งทบทวนความรู้ street food และร้านอาหาร

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

งานต่อเนื่องที่ควรทำ ทบทวนงานศึกษาสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เด็กในโรงเรียนลด NCDs มาประเมินกับภาพการทำงานระหว่างกระทรวง โดยการขับเคลื่อนนโยบายเชิงประเด็นเลือกเรื่องหารือเพื่อ converse ช่องว่างของความรู้และช่องว่างการขับเคลื่อน แล้วสิ่งที่ควรเอามานำเสนอนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมที่อยู่เศรษฐศาสตร์จุฬาฯ   มานำเสนอ และ Evidence base  ลองรีวิวของฝั่งอังกฤษ พวก health economic เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชวนอาจารย์ที่มหิดลที่ทำเรื่อง Policy Behavior Economic & Behavior economic foundation มาร่วมหารือต่อไป

——————————————–

                                                                                                สุมนมาลย์ สิงหะ สรุป/เรียบเรียง