คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์เรื่องโรคไม่ติดต่อ ครั้งที่ 2/2563

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563
ณ ห้องประชุมชั้น 1 มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

เกริ่นนำ

นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เกริ่นนำภาพรวมการเคลื่อนไหว 3 ประเด็น การเคลื่อนไหวภาษีเกลือและฉลากผลิตภัณฑ์ต้องนำมาพิจารณาข้อโต้แย้ง ด้วยหลักฐานหนักแน่นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับฐานคิดภาษีควรมีผู้เชี่ยวชาญชี้ทิศทาง เพื่อให้นักวิชาการเห็นภาพกระบวนการสร้างนโยบายดังนี้ หนึ่ง กรณีการขับเคลื่อนลดเกลือ รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ เคลื่อนตามร่างพระราชบัญญัติที่สรรพสามิตยกร่าง สอง องค์กร Better health Tha[1]iland[2] สหราชอาณาจักร เป็นอีกหนึ่งภาคีร่วมในเครือข่ายNCDs Policy Platform มีวัตถุประสงค์พัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเชิงระบบ ซึ่งเกี่ยวโยงกับข้อมูลภาพรวมตลาดอาหารและพฤติกรรมการบริโภค สาม ช่องว่างข้อมูลของมาตรการอาหารสำเร็จรูปเป็นสาเหตุเกิดโรค

สถานะคณะวิชาการควบคุมตลาดและโฆษณาอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพในเด็กขยับตามโอกาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา ระดมสมองข้อมูลเทคนิคการตลาดและโฆษณาในปัจจุบัน นำเข้ามาขอความคิดเห็นจากคณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการ เพื่อการติดตามเร่งรัดพรบ.ประกาศการควบคุมโฆษณาให้ครอบคลุม ต่อ กสทช. และ อ้างอิงเรื่องสิทธิเด็กและพรบ.คุ้มครองสิทธิเด็กครอบคลุมสิ่งที่เด็กบริโภคที่ส่งเสียต่อสุขภาพ เพื่อความชอบธรรมมากขึ้น

ความเคลื่อนไหวเรื่องภาษีเกลือได้ข้อสรุป 3 เรื่อง หนึ่ง  การขับเคลื่อนภาษียังคงใช้ร่างพระราชบัญญัติภาษีเกลือ2 คุณณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต ยืนยันการเก็บภาษีให้เวลาปรับตัวสามปี แม้ภาคอุตสาหกรรมยังไม่ขยับ เงื่อนเวลาการออกภาษีโซเดียมประมาณกุมภาพันธ์ – มีนาคม พ.ศ. 2563 สอง ฐานการเก็บภาษีแบบขั้นบันได ผลิตภัณฑ์อาหารโซเดียมระดับต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัมจะเก็บภาษีน้อยมาก หากผลิตภัณฑ์มีโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมจะเก็บภาษีสูงมาก ผู้ผลิตต้องปรับตัวเปลี่ยนสูตรเพื่อลดต้นทุน การเก็บภาษีหากคิดเป็นรายแพ็คจะเก็บไม่เยอะ หากผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่จะต้องเสียภาษีเป็นหมื่นล้านบาท  ภาคอุตสาหกรรมคัดค้านเต็มที่เรื่องภาษีแต่ให้ร่วมมือมาตรการไม่ใช่ภาษี สาม ภาคอุตสาหกรรมขยับสองรูปแบบ สัญลักษณ์ Healthier choice ผลิตภัณฑ์เมนูสุขภาพเป็นทางเลือกสุขภาพ กระบวนการคือทุกร้านค้าต้องเปลี่ยนสูตรเพื่อลดต้นทุน

วิเคราะห์โครงสร้างและบทบาทของหน่วยงานเกี่ยวกับภาษี สำนักเศรษฐกิจการคลังต้องรับผิดชอบเรื่องภาษี การเก็บภาษีเป็นบทบาทของสรรพสามิต เป็นคนนำไปปฏิบัติโดยตรง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเก็บภาษีเกลือ และภาษีน้ำตาลได้รับผลอย่างไร โดยเฉพาะข้อโต้แย้งจากภาคอุตสาหกรรม การประชุมได้ข้อมูลว่าน้ำตาลอ่อนไหวต่อราคามากกว่าเกลือ พิจารณาประสบกาณ์เก็บภาษีเกลือของประเทศฮังการี[3] อีก 2-3 ประเทศที่กำลังขับเคลื่อนโดยคิดจากโซเดียมที่แท้จริง โดยกลไกของ อย. เป็นภาคีเกลือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ ซึ่งเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกประเทศไทยต้องการสร้างความร่วมมือร่วมกับภาคีลดเกลือ การปรับตัวลดเกลือของบริษัทไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคของคน บริษัทเปลี่ยนสูตรลดน้ำตาลลดเกลือ เพราะต้องการลดต้นทุน จากเปลี่ยนสูตรมาสู่คิดการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อได้ผลระดับหนึ่ง

ภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ฐานการเก็บภาษีมาจากไหน ที่ประชุมสาธารณสุขต้องนำมาพิจารณา สำหรับวิธีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล (sugar-sweetened beverages: SSBs) มีการปรับโครงสร้างและอัตราภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลลง โครงสร้างภาษีใหม่นี้ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงกว่า 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตรจะถูกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามระดับปริมาณน้ำตาล อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์นมยังคงได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ควรหารือข้อมูลน้ำตาลเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มน้ำตาลปริมาณสูง จากผลการติดตามราคาเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลนั้น อาจ กล่าวได้ว่าการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเป็นปัจจัย สำคัญที่ส่งผลให้มีการปรับราคาของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเพิ่มขึ้น[4]

ภาษีโซเดียม ฐานการเก็บภาษีเกลือเก็บจากการบริโภคโซเดียมที่แท้จริง ไม่ใช้น้ำหนักวิธีการเก็บภาษีเก็บที่โซเดียมอย่างเดียว เก็บภาษีต่อซอง เอา 2,000 มิลลิกรัมเป็นตัวตั้ง เก็บแบบขั้นบันได คนบริโภค 600 – 1,000 มล.ต่อมื้อ หากคนบริโภคอาหารมีโซเดียม 2,000 มล. จะเก็บภาษีทันที

ประเด็น Front of Pack labeling ยังไม่ได้ข้อสรุป คณะวิชาการจะนำเสนอภาพรวมในการประชุมอนุกรรมการยุทธศาสตร์ที่ 3 ซึ่งจัดในวันที่ 19 มีนาคม 2563

ประเทศไทยมี front of pack อยู่แล้วคือ GDA  (Guideline  daily amounts) ของกรมอนามัย การแสดงค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี) น้ำตาล (กรัม) ไขมัน (กรัม โซเดียม (มิลลิกรัม) ต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ (กล่อง ห่อ ซอง) ของผลิตภัณฑ์อาหาร โดยแสดงด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ (Front of Pack) และมีรูปแบบของการแสดงฉลากที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง การแสดงฉลากของอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด[5]  บังคับใช้วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2554

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 394 (พ.ศ. 2561)[6] ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบ GDA  สนับสนุนมาตรการป้องกัน ปัญหาด้านโภชนาการเกิน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เครื่องมือที่ง่ายต่อผู้บริโภค นำมาใช้ในการวางแผนการ บริโภคที่เหมาะสม ผู้ประกอบการมีความพร้อม และให้ความร่วมมือในการแสดงฉลาก ขยายการบังคับในอาหาร 5 กลุ่มบังคับใช้วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559[7]

การพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์ (Front of pack labeling) เชิงระบบ หมายถึง แนวคิดข้อมูลบนแพคเก็จของผลิตภัณฑ์ (informative information) และศักยภาพของผู้บริโภคก่อนและหลังมีฉลาก ยกตัวอย่าง ฉลากซองบุหรี่ เป็นการเคลื่อนไหวทางยุทธศาสตร์เชื่อว่าฉลากมีผลต่อการสูบบุหรี่ ในฉลาก GDA ส่วนประกอบหวานมันเค็มปริมาณสูง สิ่งที่ปรากฏเป็นรายละเอียดที่ต้องต่อสู้ต่อรองกัน  ข้อมูล ขนาด สี สู้กันต่อเนื่องเป็นพลวัตจนถึงเสนอไม่ต้องมีภาพอะไรเลย  และระบบของฉลากที่เหมาะสม  วิวัฒนาการของข้อมูลบนฉลาก  GDA เงื่อนไขและองค์ประกอบของชนิดอาหาร ขนาด และสี ของประเทศไทยมุ่งไปที่แถบสี ยกตัวอย่างประสบการณ์ของเครื่องดื่มไมโล คนทำ labeling แต่ทำ leaflet ที่หน้ากล่อง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาคุมไม่ได้   และการติดข้อมูลไว้ที่ชั้นวางสินค้าทำได้ไหม ผิดกฎหมายไหมว่าด้วยเรื่องการให้ข้อมูล

ข้อโต้แย้งจากภาคอุตสาหกรรมต่อการออกกฎหมายเก็บภาษีลดโซเดียม พ.ศ. 2560-2563 และมาตรการลดการบริโภคเกลือเชิงระบบระหว่างการปรับตัว 3 ปี  จากข้อมูลการบริโภคอาหารของประชาชนไทย พบว่าอาหารที่มีโซเดียมสูงที่ประชาชนนิยมรับประทานมากที่สุด อันดับ 1 คือ บะหมี่กึ่งสําเร็จรูปซึ่งประชาชนจะบริโภคโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ซองต่อสัปดาห์ สรรพสามิตจะเก็บภาษีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปม่าม่าซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดไม่ถึง 20% ประเทศไทยได้ประโยชน์จริงหรือไม่ เพราะสามารถเก็บภาษีจากแหล่งอื่น 80%

มาตรการภาษีทำไปพร้อมกับมาตรการไม่ใช่ภาษี การปรับเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์อาหารให้โซเดียมลดลงเป็นมาตรการที่สามารถลดการเสียชีวิตจากโรค NCDs  ได้ดีที่สุด[8] โดยมีค่าใช้จ่ายจากฝั่งภาครัฐน้อยและให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล ซึ่งหนึ่งในวิธีหรือมาตรการที่จะกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมให้ปรับเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์อาหารให้มีความเค็มน้อยลง โดยมีประเทศที่ได้ดําเนินมาตรการภาษีเกลือและประสบความสําเร็จ คือ ประเทศฮังการี[9] ซึ่งผล ของการดําเนินงานแสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารของภาคอุตสาหกรรม และการลดการบริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเกลือสูง นอกจากนี้มีหลายประเทศที่ได้มีการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบด้าน สุขภาพหากมีการนํามาตรการภาษีเกลือและโซเดียมมาปฏิบัติใช้ ซึ่งทุกการศึกษาชี้ให้เห็นผลกระทบเชิงบวกทั้ง ด้านสุขภาพ และความคุมค่าในการดําเนินมาตรการ

คุณสุทธิกานต์ ชุณหสุทธิวัฒน์  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ รายงานภาพรวมการขับเคลื่อนการส่งเสริมโภชนาการและพฤติกรรมบริโภคที่ดีในโรงเรียน วันนี้มีการเคลื่อนไหวทำ MOU ระหว่างกรมอนามัยและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพนักเรียนและการจัดการสภาพแวดล้อมด้านอาหารในโรงเรียน มีเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มน้ำตาลปริมาณสูงในโรงเรียน  อ้างอิงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 394 (พ.ศ. 2561) ฉบับใหม่ เพิ่ม ฉบับใหม่ฉลาก GDA เพิ่มอีก 8 กลุ่มผลิตภัณฑ์  (healthier choice) จากเดิม 5 กลุ่ม ต่อด้วยกลุ่มวิชาการการพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์เชิงระบบ

งานวิจัยพฤติกรรมสุขภาพและการสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

คุณพเยาว์ ผ่อนสุข มูลนิธิพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ นำเสนองานวิจัยพฤติกรรมสุขภาพและการสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ภายใต้แผนงานวิจัยอาหารวิจัยอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ภาพรวมของวิจัยช่องวางนโยบายด้านโภชนาการและการอ้างอิงมาตรฐานต่างประเทศ (Nutrition policy gaps and benchmarking) สำรวจสุขภาพประชาชนไทย (เตี้ย ผอม อ้วน) ถ้าเทียบกับ Global targets[10] เจาะที่โรคอ้วน สาเหตุเกิดจากความไม่สมดุลกันระหว่างพลังงานที่บริโภคและพลังงานที่ขับออกมา ประกอบกับสภาพแวดล้อมมีอาหารไม่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น เกิดภาวะ “เนือยนิ่ง”  ปัจจัยส่งผลให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมของเด็กคือการโฆษณาอาหารแบบครบวงจร การกินอาหารที่มากเกินความต้องการและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กไทย กินขนมกรุบกรอบทุกวัน  อาหารจานด่วน  เพิ่มขึ้นจากปี 2546 เพิ่มขึ้น เกือบ 10% กิจกรรมทางกายลดลง เพราะใช้เวลากับหน้าจอที่และมือถือมากขึ้น โดยเฉลี่ยคนไทยใช้เวลา 10 ชั่วโมงในการออนไลน์

งานวิจัยการกินส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก[11] ภายในโรงเรียน เพราะเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ในโรงเรียน (เรียน เล่น กิน) สภาพแวดล้อมทางอาหารในโรงเรียน มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็ก เช่น การขายอาหารสำเร็จรูปรอบรั้วโรงเรียนการมีร้านค้าในระยะใกล้บ้านหรือโรงเรียน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนในเด็ก

จากข้อมูลเด็กประถมปี พ.ศ. 2559[12]อาหารกลางวันโรงเรียน 97% ยังมีข้อจำกัดด้านคุณค่าทางโภชนาการ และ 24.9 เปอร์เซนต์ จากกลุ่มโรงเรียนไม่ได้มาตรฐาน โปรแกรมกำหนดเมนูอาหาร (Thai School Lunch)  ใช้เพียงร้อยละ 50  ยังไม่ครอบคลุมทุกโรงเรียน อาหารกลางวันไม่ผ่านเกณฑ์โภชนาการ (โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุอาหารกลางวัน) ยังมีข้อจำกัดด้านคุณค่าทางโภชนาการ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 300 โรงเรียนทั้งโรงเรียนในเมืองและชนบท ประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ใช้การประเมินโภชนาการจากเมนูอาหารที่โรงเรียน และอาหารที่ขายทั้งในและนอกโรงเรียน อาหารทอด น้ำหวาน ขนมกรุบกรอบในโรงเรียน โรงเรียนที่ทำมาตรการปลอดน้ำอัดลมมีมาตรการ 9% ยังขายอยู่ และนอกโรงเรียนเยอะ นอกโรงเรียนมากกว่าขนมกรุบกรอบ 3.5 เท่า  มาตรการที่ได้มีการดำเนินงานในโรงเรียนมากที่สุด โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม รองลงมาโรงเรียนปลอดขนมกรุงกรอบ เป็นต้น

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)  เสนอรายงานแนวทางนโยบายแก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก[13]  ชื่อ The Commission on Ending Childhood Obesity (ECHO) มี 6 องค์ประกอบให้สมาชิกประเทศประยุกต์ใช้ ส่งเสริมการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เน้นกิจกรรมทางกาย การดูแลตั้งแต่ครั้งครรภ์ การกินที่ดีและกิจกรรมทางกายที่ดีในเด็กกลุ่มวัยเรียน  เพื่อการดูแลจัดการน้ำหนักและส่วนสูง

ข้อสังเกตข้อแนะนำของ ECHO ข้อที่ 1 ส่งเสริมอาหารสุขภาพ (Diet healthy) และกิจกรรมทางกาย  ขณะที่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้น้ำหนักการดำเนินงานทางลบ ทั้งนี้ เรื่องส่งเสริมอาหารสุขภาพค่อนข้างสำคัญ เพราะอาหารสุขภาพของคนไทยปลาและผัก  แต่พฤติกรรมบริโภคคนไทยกินอาหารนอกบ้านและนำอาหารจากข้างนอกที่เค็มมากมาทานเยอะมากสูงสุดเอเชียและมีค่าใช้จ่ายสูงสุด สำหรับนโยบายระดับประเทศในปัจจุบัน  มติรัฐบาลเพิ่มงบประมาณอาหารกลางวัน 13   บาทไม่พอมีการศึกษาข้อมูลสำรวจเท่าไหร่ถึงจะพอ แต่จากการสำรวจไม่พอในโรงเรียนขนาดเล็ก จากงานวิจัยตัวเลขที่ต้องการ  29 บาทต่อคนต่อวัน ทางสพฐ.มีแนวคิดใหม่ปรับตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่ ประกอบกับมีมติสมัชชาสุขภาพ อาหารกลางวัน อาหารเช้าในและรอบโรงเรียน ยกตัวอย่าง การปฏิบัติการที่จังหวัดสุรินทร์เป็นนโยบายจังหวัด (area base) บริบทที่มีการเกษตรที่เหมาะสมส่งเสริมควบคุมจำหน่ายอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในโรงเรียน  ด้วยการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการสนับสนุนนักโภชนาการท้องถิ่นและวัตถุดิบประกอบอาหารจนเป็นนโยบายโรงเรียน

ข้อจำกัดของงานวิจัย การสำรวจอาหารเน้นกลุ่มประเภท แต่ไม่ได้ตรวจองค์ประกอบ ใช้การประเมินจากสายตา สิ่งที่เน้นประเภท องค์ประกอบและปริมาณการขายและบริโภค ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าหากต้องการควบคุมกลุ่มเป้าหมายจะเจาะจงที่ผลิตภัณฑ์ใด

ทบทวนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อโรค NCDs ในโรงเรียน

ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตกรรม กรมอนามัย ทบทวนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อโรค NCDs ในโรงเรียน และวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เริ่มต้นในปี 2548 ในลักษณะโครงการ (Project Base) มาสู่ภาพรวมเชิงนโยบายส่งเสริมโภชนาการและพฤติกรรมบริโภคในโรงเรียน กิจกรรมโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ใช้วิธีการทำหนังสือเรียนขอความร่วมมือโรงเรียนกระทรวงศึกษาธิการเป้าหมายจำนวน 30,000 โรงเรียน ว่าต้องไม่มีน้ำอัดลมในโรงเรียน  ในโรงเรียนเอกชนมีปัญหาเครื่องดื่มหวานมากเพราะไม่ได้อยู่ในการควบคุมของ สพฐ.  อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับนโยบายของโรงเรียน   ยกตัวอย่าง โรงเรียนสาธิตเกษตร เด็กนักเรียนได้กินนมทุกรส ครูให้เหตุผลว่าต้องการให้เด็กเผชิญกับความหลากหลาย โรงเรียนสาธิตปทุมวันไม่ให้มีน้ำอัดลมแต่อาจมีน้ำอื่นๆ  งานวิจัยมีข้อค้นพบ โรงเรียนที่มีน้ำอัดลมขายจะมีแนวโน้มซื้อน้ำอัดลมกินมากแล้วกินมากเท่าไหร่ มองให้แง่หลักฐานเพื่อตั้งข้อถกเถียง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจ้างเหมาอาหารกลางวันในโรงเรียน เพราะระบบการจัดการของโรงเรียนไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่ทำ 2 แบบจ้างแม่ครัวและจ้างเหมา โรงเรียนขนาดเล็ก 20,000 โรงเรียนจาก 30,000 โรงเรียนจ้างแม่ครัวในชุมชน เพราะครูใกล้ชิดกับแม่ครัวเป็นคนในชุมชน และงบประมาณจำกัด ครูจะมอนิเตอร์วัตถุดิบและดูเมนูว่าแต่ละวัน มีข้อมูลเปรียบเทียบเชิงคุณภาพระหว่างโรงเรียนเทศบาล และโรงเรียนนอกเขตเทศบาลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลดูแลพบว่า โรงเรียนสังกัด  สพฐ. คุณภาพแย่กว่าจ้างเหมา นอกจากนี้มีประเด็นอาหารเป็นพิษ (Food  poisoning) ซึ่งยังไม่มีข้อมูลชัดเจน

ความแตกต่างระหว่างโรงเรียนสังกัดสพฐ.ระหว่างโรงเรียนสังกัดอปท. ด้านงบประมาณอาหารกลางวันดำเนินการเบิกจ่ายผ่านอปท. ภายใต้พระราชบัญญัติกระจายอำนาจ โรงเรียน สพฐ.รองบประมาณเป็นงวดๆ   ต้องจัดงบประมณให้เด็กทันทีที่โรงเรียนเปิด หากล่าช้า โรงเรียนมักเป็นหนี้ร้านค้า แต่ว่าโรงเรียนสังกัด อปท.สามารถให้เบิกจ่ายเงินอุดหนุนได้ก่อน ทำให้เกิดการแยกส่วนการทำงานกันอันเกิดจากส่วนกลางมหาดไทย หลายพื้นที่หาทางออกด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างอปท. ร้านค้าชุมชนและผู้ปกครอง

อาหารกลางวันในมิติการเรียนรู้ทางสังคม เป้าหมายการทบทวนนโยบายอาหารโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้พฤติกรรมบริโภคที่เหมาะสม   การจัดจัดการอาหารจะเป็นเครื่องมือและกระบวนเรียนรู้ (learning process) ระหว่างคนทำอาหารได้ปฏิสัมพันธ์กับเด็ก เรียนรู้ระหว่างกันคนปรุงและผู้บริโภค

ประโยชน์ของโปรแกรม Thai school lunch ต่อโรงเรียน เป็นเครื่องมือจัดเมนูอาหารแบบสมัครใจ สำหรับแนะนำเมนูอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ ทั้งยังสามารถประมาณการค่าใช้จ่ายและวัตถุดิบล่วงหน้าในงบประมาณ 20 บาทต่อเด็กรายคน พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล[14] เริ่มเปิดใช้ปี 2555

ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม Thai school lunch ต่อหน่วยงานสพฐ.และกรมอนามัย มีฐานข้อมูลเมนูกลางเพื่อการจัดอาหารกลางวันทุกโรงเรียนของสพฐ.  ผู้ใช้ประโยชน์ประมาณ 50,000 ผู้ใช้งานประจำโรงเรียน ทั้งนี้โปรแกรมออนไลน์มีทางเลือกกรณีโรงเรียนประยุกต์วัตถุดิบท้องถิ่นเป็นเมนูอาหารใช้ Thai recipe แล้วจะปรับให้อยู่ในฐานข้อมูล Thai school lunch  ตอนนี้ Thai recipe ใช้ได้ 200 ผู้ใช้แล้วที่ตอบโจทย์วัตถุดิบท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเข้าถึงยากของโปรแกรม โดยแต่ละโรงเรียนจะมีผู้ใช้งานประจำโรงเรียน 1 ท่าน เมนูกลางตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ ความรู้เทคนิคอาหารและสามารถพัฒนารสชาติต่อไปได้ จากสำรวจบางโรงเรียนขนาดเล็กไม่ประยุกต์ใช้โปรแกรม Thai school lunch   เพราะบุคลากรไม่พร้อมและการเข้าถึง ข้อเสนอต่อการจัดการปัจจัยเสี่ยง เน้นควบคุมอาหารที่ขายในและนอกโรงเรียนที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถออกกฎระเบียบเข้มงวดแต่ใช้วิธีการพูดคุยทำความเข้าร้านค้าในชุมชน เพราะอาจล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน  การส่งเสริมการขายแบบครบวงจรใช้เทคนิครูปแบบใหม่ๆ ในโรงเรียนเข้มข้นมากขึ้น จึงควรสนับสนุนทุนให้โรงเรียนควรมีการจัดการจริงจัง สุดท้ายคือ ความรอบรู้สุขภาพเรื่องโภชนาการ นอกจากนี้ยังควรให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม ความแม่นยำของข้อมูลสุขภาพเด็ก ควรมาจากเครื่องมือที่มีมาตรฐาน รอบด้านมีความหลากหลายของบริบทโรงเรียน

แผนงานนโยบายอาหารและโภชนาการเคยทำวิจัยเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์การจำแนกอาหาร[15] (Nuptial Profiling) ปี 2552  และพัฒนาแอปพริเคชั่น food choice พัฒนาโดยสำนักโภชนาการ มหิดล กรมอนามัย NECTECT  และ IHPP หลักการของหลักเกณฑ์การจำแนกอาหาร เพื่อช่วยการคัดกรองประเภทอาหารขายในโรงเรียนและรอบโรงเรียน เน้นผู้ใช้ประโยชน์ 2 กลุ่ม คือ ประชาชนทั่วไปตัดสินใจเองว่าควรกินไม่ควรกิน  และระดับนโยบายโรงเรียนมีคู่มือใช้ในโรงเรียนคู่มือที่สำนักโภชนาการทำงานพัฒนากับสสส.   กรมอนามัยมีฐานข้อมูลอาหารสำเร็จรูปในท้องตลาด แอปพริเคชั่นขึ้นข้อมูลสีเขียว เหลือง แดงบอกคุณค่าโภชนาการ

ประโยชน์แอปพริเคชั่น food choice สำหรับผู้ใช้รายบุคคลคือ จำแนกด้วยว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ สำหรับโรงเรียนเข้ามาใช้ประมาณ 1,000 โรงเรียนเพราะได้ส่งเสริมให้ใช้2-3 ปีแล้ว วิธีการใช้ครูจะดาวโหลดไปสอนเด็กเป็นหลักสูตร กรมอนามัยมีฐานข้อมูลอาหารอยู่ในท้องตลาด คู่มือที่สำนักโภชนาการทำงานพัฒนากับสสส. อย่างไรก็ตามยังใช้ไม่แพร่หลาย ใช้ง่าย stand alone และ interactive ถ้าไม่เจอถ่ายรูปส่งไปให้ผู้ดูแลระบบและจะเอาเข้าข้อมูล อีกกลุ่มใช้ประโยชน์คือ กลุ่มฟิตเน็ท  สตาร์ทและบุคคลเป็นโรคมันช่วยมอนิเตอร์ได้ไปอยู่ในตลาดได้

ปี 2548 เริ่มต้นจากเรื่องสุขภาพช่องปากมาสู่นโยบายสุขภาพ พบว่าเด็กมีพฤติกรรมบริโภคเครื่องดื่มอย่างมีนัยสำคัญต่อการป้องกันและควบคุม NCDs ภาพรวมการบริโภคน้ำตาลของคนไทยมากที่สุด 50% มาจากเครื่องดื่มที่ได้รับต่อวัน อ้างอิงตัวเลขจากรายงานสำนักงานอ้อยและน้ำตาลเรื่องการกระจายน้ำตาลในประเทศไทยแล้วเข้าไปอยูในผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง ดูตามโควตาการส่งออก ต่ำสุด 4 กรัมและสูงสุด 8 กรัม การออกภาษีน้ำตาลภายใต้เงื่อนไขโควต้าเหล่านี้สมาคม 3 โรงงานอ้อยและน้ำตาลไม่มีข้อโต้แย้ง เพราะมองว่าได้มากกว่าเสียหลังจากไปคิดโควต้าในการกระจาย

การขับเคลื่อนติดตามสภาวะโรคฟันผุเป็นระบบสมัครใจ  กลุ่มงานทันตกรรมจังหวัดทำการสำรวจสอดคล้องกับระเบียบวิธีการสำรวจของ WHO  ส่งข้อมูลมาให้ทุกปี จากข้อมูลเห็นว่าอัตราการบริโภคเรื่องเดิมลดลง เป็นการวางเครือข่ายให้มีการสำรวจได้เงินสนับสนุนจากสสส. ส่งเสริมให้เครือข่ายใช้งบประมาณจากสสจ.แต่ละจังหวัดต่อเนื่อง   จนกระทั่งปี 2562 งบประมาณได้น้อยลง จากภาพแสดงสถานการณ์คนไทยกินน้ำตาล 100 ร้อยกรัมต่อวันเฉลี่ยทุกคน  ส่งผลให้เด็กไม่ผุเลยจนถึง 12 ขวบขึ้นไป   ติดตามเรื่องเครื่องดื่มเป็นประเด็นหลักในการสื่อสาร ค่าเฉลี่ยต่อเด็กต่อคนเฉลี่ยวันหนึ่งกินวันละกิน 1.5 หน่วยบริโภค (250 cc)

จากภาพแสดงการอภิปรายข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นพื้นที่เทศบาลและนอกเทศบาลตามกลุ่มรายได้ จะมีมีตัวเลขที่เป็นอายุและรายได้ประกอบเข้าด้วย ข้อมูลยังไม่คงเส้นคงวา เดิมเรามีตัวเลขผอมเตี้ยในฐานะไม่ค่อยดี แต่ตอนนี้เด็กฐานะดีเตี้ยเยอะขึ้น

นโยบายฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร GDA  ในปี 2552 ขยับไปทีละเรื่องจากกิจกรรมเล็กๆ พัฒนาการจากตั้งใจเป็นสัญลักษณ์ไฟจราจรจนผ่านไป 4 ปีไม่เกิดผลดังตั้งใจ จึงหาทางออกเป็นขาวดำไม่มีสี  จากนั้นขยับมาทำสัญลักษณ์ food choice แทนที่การบอกมีสีว่าอาหารประกอบด้วย  ยกตัวอย่าง ฉลากน้ำตาลซองต้องระบุยี่ห้อ และกรัม ภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลมี 5-6 โรงงาน จึงสามารถเรียกประชุมหาข้อตกลงและเพิ่มทางเลือกหาซื้อน้ำตาลซองขนาด 4 กรัมได้ ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้หรือโครงการหลวง สิ่งที่ทำไม่คิดราคาน้ำตาลแต่ลดขนาดกล่อง ภาษีน้ำตาลทำให้ผู้ผลิตปรับตัวลดขนาดกล่องเพื่อไม่ต้องเสียภาษี  สรรพสามิตคิดคำนวณภาษีทำ 2 แบบ คิดตามดีเทลราคาและความเข้มข้นน้ำตาล ขณะนี้บริษัทน้ำตาลจะปรับตัวลดเหลือ 9% เราจะ 6% ในสองปีข้างหน้า สรรพสามิตรายงานว่า ปี 2561 ได้ห้าพันล้าน ปี 2562 เก็บเหลือสามพันล้านแสดงว่าบริษัทปรับตัวใส่น้ำตาลน้อยลง

จากกราฟแสดงปริมาณน้ำตาลก่อนและหลังขึ้นภาษี พ.ศ. 2560 การปรับโครงสร้างภาษียังส่งผลให้เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมีการปรับลดราคาลง โครงสร้างปริมาณน้ำตาลและราคาเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 12% ปริมาณน้ำตาลลดลงไป 9.6% ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลฉลากเข้าโปรแกรมเปรียบเทียบก่อนเก็บภาษีและหลังภาษี  ปริมาณน้ำตาลที่กระจายไปในผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศไทยลดลง 9% ฐานการเก็บภาษีใหม่ในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล14 มิลลิลิตรขึ้นไปและยกเว้นภาษีตามปริมาณในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยกว่า 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตรอีกด้วย อย่างไรก็ดี กรณีภาษีน้ำตาลหลังออกภาษีน้ำตาลปี 2560 การบริโภคเครื่องดื่มทั่วไปลดลง แต่ไม่อาจสรุปได้ว่าเพราะเครื่องมือภาษี หรือคนมีตระหนักเรื่องสุขภาพมากขึ้น เพราะประชาชนรับรู้เรื่องภาษีน้ำตาลและการเปลี่ยนสูตรลดน้ำตาลในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มน้อย

ประเทศไทยไม่ส่งออกน้ำตาลและมีผู้เล่นไม่กี่บริษัท กรณีการปรับตัวต่อภาษีน้ำตาลสองปี เมื่อภาษีขึ้นจริงปี  2562 จะเก็บข้อมูลเปรียบเทียบน้ำตาลจากผลผลิตมวลรวม เอาตัวชี้วัดการบริโภคน้ำตาลอยู่ในการสำรวจด้วยเทคนิคไม่ง่าย มีระเบียบวิธีที่ดี   ติดตามน้ำตาลจากผลผลิตมวลรวมมันสะท้อนได้ในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ไม่สะท้อนในประเทศด้วยพัฒนา

ทบทวนเป้าหมายและฐานคิดที่ใช้มาตรการภาษี มาจากสมมุติฐานว่ามาตรการภาษีจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารปรับตัวและผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ภาษีน้ำตาลทำงานผ่านตรรกะอะไรต้องตอบคำถามด้วยข้อมูล ตัวเลขที่มาจากข้อมูลปริมาณน้ำตาลสมาคมอ้อยและน้ำตาลที่ไปอยู่ในเครื่องดื่ม เริ่มเก็บภาษีปี 2560  อาหารสำเร็จรูปอาจไม่ใช่ภาษีโดยตรง เป็นยอดรวมผลิตภัณฑ์บนชั้นขายอาหาร แต่ตัวเลขขายลดลง ซึ่งไม่เกี่ยวกับพฤติกรรมบริโภค แสดงว่าภาษีไม่กระทบราคาเลย

บทเรียนของการขับเคลื่อนเด็กไทยไม่กินหวานที่สำคัญ การร่วมกันพัฒนามาตรฐานการประเมินเพื่อดูแลตัวเองไม่ให้เกิดโรค และการสร้างเครือข่ายแนวราบของโรงเรียน 100 โรงเรียนทุกภาคช่วยเหลือกัน การทำโรงอาหารสร้างกลไกลการดูแลกัน เราทำเยอะที่สุดคือการแบนน้ำอัดลมในโรงเรียน งานต่อเนื่องคือลดเกลือ และจุดน้ำดื่มสะอาด สร้างจากเครือข่ายและอาสาสมัคร ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพของ สสส.

การขับเคลื่อนเครือข่ายทันตแพทย์จากความสมัครใจ ส่งผลให้เรื่องนี้กลับมาสู่การปฏิบัติการระบบงานต่อเนื่องเป็นตัวชี้วัดของกระทรวง สามารถเห็นมรรคผลต่อเด็ก ทุกจังหวัดมีข้อมูลและบริหารข้อมูลขยับไป ทำเรื่อยๆ ไปแต่ละจังหวัด ทำงานในระบบไปเอากลับมาปฏิบัติการในระบบ

ความคืบหน้าของการออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เรื่องการควบคุมเครื่องดื่มและอาหารที่หวาน มัน เค็มในโรงเรียน ซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม และ โรงเรียนอ่อนหวานปี 2548  เน้น หนึ่ง การจัดการพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน สอง สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สาม บริการสุขภาพ แต่การควบคุมตลาดขยับยากส่วน ประกาศกลางที่กำลังยกร่างเพราะว่าได้เสียงสะท้อนมาจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่ ซึ่งบทบาททางกรมอนามัยจะเพิ่มเนื้อหาเรื่องกลไกการกำกับ และการควบคุมตลาดอาหารเด็กเข้าไปด้วย

ช่วงอภิปรายและซักถาม

ฉากทัศน์ของสื่อใหม่ (New Media Landscape) การตลาดและโฆษณาเปลี่ยนไปสู่ออนไลน์และสื่อสมัยใหม่ซึ่งเป็นประเด็นร่วมระดับภูมิภาค การสร้างข้อตกลงระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อกำกับออนไลน์ยังเป็นไปได้ยาก เพราะว่าประเทศสมาชิกนำเข้าประเด็นสื่อออนไลน์มาปรึกษาหารือกันน้อย ยกตัวอย่างสิงคโปร์ไม่สนใจการควบคุมโฆษณา เพราะแพลทฟอร์มออนไลน์เป็นรายได้ เรื่องภัยสุขภาพขนมเด็กไม่มีทางใช้กฎหมายปกติ  แต่ว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีกฎหมายออกมาแล้ว

ความคืบหน้าของคณะวิชาการเอาเทคนิคการตลาด (Techniques marketing ) มาพิจารณา และวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และจะยื่นข้อเสนอแก่คุณวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการสังคมฯ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ข้อเสนอเรื่องการคุมโฆษณาในกิจการกระจายเสียง กสทช. และสร้างกลไกควบคุมสื่อออนไลน์

ช่องทางคณะอนุกรรมาธิการพัฒนาสังคม เด็ก ฯล จะนำประเด็นข้อเสนอและข้อร้องเรียนเข้าที่ประชุมหมุนเวียน โดยอำนาจหน้าที่สามารถเชิญผู้เกี่ยวข้องเผยแพร่ชุดความรู้ เปิดโอกาสจูนความคิดผ่านข้อเสนอเป็นรูปธรรม ซึ่งคณะวิชาการต้องประเมินความเป็นไปได้การควบคุมการตลาดในเด็ก เพราะว่าสื่อใหม่ (Social Media ) กสทช.ยังไม่มีเครื่องมือทางกฎหมายควบคุม อีกเรื่องที่เป็นช่องทางกองทุน กสทช. เปิดช่องให้พัฒนาเนื้อหากลุ่มป้าหมายเด็กมีสองช่องทาง หนึ่ง ทำ TOR เข้าไป และ กสทช.ประกาศเปิดให้ทุน  การทำเนื้อหาเด็ก ต้องวิเคราะห์ผู้มีสวนได้ส่วนเสียและบทเรียนต่างประเทศมุ่งไปที่โฆษณาเด็ก

ฃตัวอย่างการสร้างกลไกในการส่งเสริมนโยบายสาธารณะ ประเทศเกาหลี มีกลไกทำงานควบคุมโฆษณาอาหารในเด็กชื่อ Committee on Safety Management of Children’s Dietary Lifestyle, Korea มีโครงสร้างคณะทำงานที่กำกับดูแล ตำแหน่งประธานมีการเวียนตำแหน่งหลายภาคส่วนมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ตอนนี้ประธานจากภาคเอกชนและมีความรู้จากหลายส่วน ความสำเร็จเกิดจากการพัฒนานโยบายออกมาตรการกำจัดการโฆษณาในสื่อจำกัดช่วงเวลาและอายุในสื่อทีวีส่วนใหญ่

ประเทศสหรัฐอเมริกามีกลไกที่สำคัญชื่อ Children’s Online Privacy Protection Act (COPPA)  เน้นการดูสื่อออนไลน์เพื่อการปกป้องสิทธิของเด็ก การปรับปรุงหรือปรับการควบคุมเว็บไซต์ใหญ่ ยกตัวอย่าง ยูทูปเป็นสื่อหลักและสื่อใหญ่ที่สัมผัสเด็ก เอากฎระเบียบของเขาไปกำกับควบคุมสื่อออนไลน์และกิจการต่างๆ ที่เผยแพร่ในยูทูป บอกได้ว่ายูทูปว่ามีกิจกรรมที่เสี่ยงอะไรบ้าง ซึ่งมีกรณีศึกษาการปรับยูทูปเป็นเงิน 170 ล้านดอลล่า ส่งผลยูทูปเปลี่ยนนโยบายการโฆษณาสื่อที่ผลกระทบต่อเด็กเกี่ยวกับเนื้อหา และข้อกังวลมาจาก US Federal Trade Commission FTC ภายใต้ ACT ตัวนี้ ตัวอย่างที่น่าสนใจการที่เรามีกฎระเบียบและบังคับใช้เข็มแข็งแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงสอง กองทุนกสทช. ดึงดูดค่าโฆษณาเอกชนมาใช้ ทำ TOR สองอันให้ชัดเจนในการคุมโฆษณา

พรบ.คุ้มครองสิทธิเด็กจะอ้างอิงเรื่องอาหารเฉพาะเจาะจงไม่ได้ ต้องใส่เนื้อหาส่วนนี้เป็นสภาพแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมข้าม sector กฎหมายระหว่างกระทรวงศึกษาและกระทรวงสาธารณสุข เนื้อหากฎหมายต้องระบุผู้บังคับใช้กฎหมาย การพนันเป็นเรื่องตำรวจ แต่ยังไม่มีความรู้การทำความผิดบนพื้นที่ออนไลน์  กระทรวงดิจิทัลเพื่อสังคมดูแลแต่แพลทฟอร์มไม่ได้ดูคนผิดในพื้นที่  ตอนนี้มีตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  ตำรวจคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ผิดคือฟรีจะทำอะไรก็ได้

วิเคราะห์กฎหมายควบคุมโฆษณาที่มักใช้เด็กหรือใช้เด็ก  เพื่อชี้ว่าเป็นสิ่งซึ่งไม่ควรทำและมีหน่วยงาน กำกับดูแลและสามารถวินิจฉัยพฤติกรรมไหนถือว่าผิดฐานความผิดแบบไหน  ยกหน้าที่ให้ตำรวจไม่ได้เพราะไม่ใช่เรื่องผิดอาญาหรือแพ่ง หากใช้ช่องทางพรบ.คุ้มครองเด็กต้องผลักดันให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ออกประกาศและติดตามกำกับดูแลแพลทฟอร์มออนไลน์ รวมทั้ง การเข้าช่องกองทุนกสทช. เพราะให้มีช่วง healthy break

สรุปว่าการขับเคลื่อนการควบคุมตลาดและโฆษณาอาหารในเด็ก มีเจ้าภาพเป็นคณะทำงาน Non Sugar Tax ควบคุมการส่งเสริมอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ผู้ประสานงานคือ คุณหมอสุนิสา ศุภเลิศมงคลชัย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย สอดรับกับกลไกการขับเคลื่อนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อการบริโภคน้ำตาลที่เหมาะสมของคนไทย ที่มาที่ไปสืบเนื่องจากการประชุม Consultation Meeting on Setting up on Childhood Obesity วันที่ 17 ตุลาคม 2562 ซึ่งผู้แทนจาก WHO และ UNICEF  ได้เสนอให้หน่วยงานระดับภาครัฐเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนมาตรการควบคุมโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในเด็ก เนื่องจากเป็นมาตรการ best buy policy ที่อยู่ในชุดข้อเสนอแนะของ WHO ในภารกิจยุติภาวะอ้วนในเด็ก (The Commission on Ending Childhood Obesity (ECHO)  ซึ่งประเทศไทยยังขาดมาตรการนี้

การขับเคลื่อนมาตรการไม่ใช่ทางภาษีควรเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน แต่หากเป็นมาตรการภาษีเป็นบทบาทของกรมอนามัย ประเด็นการควบคุมโฆษณาไปดูกฎหมายของกระทรวงอื่นที่ประกาศไว้ หากเป็นบทบาทคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ (สดยช.) มีกลไกเป็นนายกรัฐมนตรี คณะวิชาการไปหา สดยช.เพื่อคุ้มครองเด็ก กรณีผิดไปหา และกรณีไม่ผิดไปให้ข้อมูลเพราะคณะกรรมารไม่มีข้อมูลผลกระทบต่อเด็ก

สรุปงานที่ต้องดำเนินการต่อไป

หนึ่ง การควบคุมตลาดและโฆษณาอาหารในเด็ก มีเจ้าภาพเป็นคณะทำงาน Non Sugar Tax ควบคุมการส่งเสริมอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สามารถเอาข้อแนะนำการขับเคลื่อนการควบคุมโฆษณาไปกำหนดวาระการประชุม และหารือกับกระทรวงที่บทบาทดูแลคุ้มครองเด็กหลายหน่วยงาน เพราะยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง พรบ.คุ้มครองเด็กภายใต้พม.  พรบ.สคบ. หรือ กสทช. โดยธงการเคลื่อนไหว NCDs และโรคอ้วน แต่กลไกการโฆษณาผลกระทบต่อสุขภาพภาพรวม จากการสำรวจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมการตลาดในเด็กว่าควรใช้พรบ.ไหน  ไม่ใช่เรื่องการคุมโฆษณาอย่างเดียวอยากให้พรบ.คุ้มครองเด็กมีโอกาสสูง และทบทวนพรบ.คุ้มครองเด็ก

สอง การขับเคลื่อนมาตรการภาษีและมาตรการไม่ใช่ภาษี ทำข้อมูลวิเคราะห์เป้าหมายเชิงผลิตภัณฑ์ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะควบคุมการส่งเสริมการตลาดที่ว่าด้วยอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และวิเคราะห์กลไกและมาตรการ  ผู้ขับเคลื่อนต้องต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าเป็นไปเสนอผู้มีอำนาจจะกล้าๆ กลัวๆ ฉะนั้น ไปคิดถึงมาตรการสื่อสาธารณะเชิงนโยบายเพื่อให้สังคมออกเสียงด้วย   ยกตัวอย่างการลดเกลือ

สาม การขับเคลื่อนระดับนโยบายโรงเรียน ที่กรมอนามัยร่วมกับกระทรวงศึกษาเดินหน้าต่อไป คณะวิชาการต้องตามภาวะโภชนาการของเด็กและอาหารกลางวัน และตามดูประกาศกระทรวงศึกษาว่าไปสร้างกลไกความร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ และการสร้างความรอบรู้ให้เด็กลงไปสู่นโยบายโรงเรียน จนบรรลุเป็นระเบียบข้อปฏิบัติของโรงเรียนและมีกลไกกำกับ ข้อมูลการกินหวานของประชาชนที่เครือข่ายสำรวจทุกจังหวัดเอามาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อเห็นโอกาสผลักดันการทำงานร่วมกัน

ประเด็นต่อเนื่อง จัดหารือรอบพิเศษเรื่องโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัจจุบันมีเจ้าภาพกองทุนเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา

——————————————–

                                                                                                สุมนมาลย์ สิงหะ สรุป/เรียบเรียง

[1] เอกสารอัดสำเนา โครงการเบ็ทเทอร์เฮลท์ (The Prosperity Fund Better Health Program – BHP) และ DRAFT Big picture concept/discussion note Comparative effectiveness of Front-of-Pack labels on packaged food products in Thailand

[2] พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต 2560 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กันยายน 2560

[3] Guideline: Sodium intake for adults and children. Geneva: World Health Organization; 2012 (http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/77985/1/9789241504836_eng.pdf, accessed 11 November 2017).

[4] กมลพัฒน์ มากแจ้งและคณะ.(2562). การติดตามราคาและปริมาณนน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ก่อนและหลังการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่ม ที่มีน้ำตาลของประเทศไทย วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปี 13 ฉบับ 12 เมษายน-มิถุนายน 2562

[5] ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง การแสดงฉลากของอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด ฉบับที่ 2  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2554

[6] นางสาวมยุรี ดิษย์เมธาโรจน์ และนางสาวศิริรัตน์ ปรีชา .(2561). ชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 394 (พ.ศ. 2561)ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาลไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ กลุ่มกำหนดมาตรฐาน สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

[7] กระทรวงสาธารณสุขเรื่อง เพิ่มชนิดอาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ หรือฉลากหวานมันเค็ม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559

[8] พเยาว์ ผ่อนสุข  .(2562). Policy Paper มาตรการภาษีเกลือและโซเดียมในประเทศไทย แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP)

[9] WHO.(2018). Better food and nutrition in Europe:a progress report monitoring policy implementationin the WHO European Region (http://www.euro.who.int/pubrequest).

[10] Global NutritionTarget 2025(2014,WHO,WHA 65.6)

[11] ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง การแสดงฉลากของอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด ฉบับที่ 2  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2554

[12] สุลัดดา พงษ์อุทธา และคณะ .(2559). โครงการประเมินติดตามสภาพแวดล้อมด้านอาหารและนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อการป้องกันควบคุมปัญหาโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (การจัดบริการอาหารและร้านจำหน่ายอาหารในและรอบโรงเรียนประถมศึกษา). นนทบุรี: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ.

[13] WHO (2017) Ending Childhood Obesity – The ECHO report https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/259349/WHO-NMH-PND-ECHO-17.1-eng.pdf

[14] สำนักโภชนาการมาก่อน และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ NECTEC การดำเนินการต่อ

[15] ปฏิญญา ศรีใสและคณะ (2559).โครงการประเมินความเป็นไปได้ของการประยุกต์ใช้เกณฑ์การจำแนกอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่มในโรงเรียน โดยแผนงานนนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ