PCCD : ระบบข้อมูลและระบบส่งต่อข้อมูล (E-referral) ครั้งที่ 2

วันที่ 28 เมษายน 2563
(ZOOM Meeting Online)

สรุปประเด็นการประชุมจากครั้งที่แล้ว

ทาง Opensource สนใจที่จะ Implement เอา HL7FHIR เข้าระบบ e-Referral ซึ่งทางทีมโครงการฯ สนใจที่จะพัฒนาตัว Standard Hl7FHIR มาใช้เป็นระบบข้อมูลสุขภาพ ซึ่งประเด็นที่จะพูดคุยกันวันนึ้คือ มีวิธีการใดบ้าง ที่จะนำ Standard HL7FHIR มา Implement เข้าไปในระบบของ IMED หรือ Hospital OS

โดย Hospital OS จะเป็นการส่งออกแฟ้มข้อมูลสุขภาพ และเชื่อมต่อระหว่าง อุปกรณ์-ระบบ / ระบบ-ระบบ จึงคิดว่าน่าจะเป็นจุด Implement ของ Standard Hl7FHIR ซึ่งของ IMED จะคล้ายคลึงกัน แต่ในส่วนของ Hospital OS หรือระบบที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสามารถ Implement เพิ่มเติมได้ ถ้าเป็นส่วนของการแลกปลี่ยนและเชื่อมต่อระหว่างแอพลิเคชั่นสามารถกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อในรูปแบบของ FIHR ได้

สร้างความร่วมมือกัน

ต้องพิจารณา 2 ส่วน คือ (1) เมื่อนำเรื่องนี้ไป Implement ในทีมของบริษัท Opensource Technology และนำ Standard Hl7FHIR ไปปรับใช้ จะไม่ส่งผลกระทบกับการส่งมอบงานที่เป็นไปตาม Timeline (2) หาจุดที่สามารถต่อยอดได้

อ.ประพัฒน์ เสนอให้ ในโอกาสหน้าคุยลงรายละเอียดในเรื่องของการส่งต่อข้อมูล เช่น จาก สปสช. หรือ ระหว่างโรงพยาบาลภูมิพลกับ รพ.สต. เป็นต้น จับประเด็นมาตั้งโจทย์แบบ Sandbox ในการ Implement โจทย์เหมือนกันแต่นำ Standard Hl7FHIR มาใช้ซึ่งจะมีความแตกต่างกับแบบเดิมอย่างไร โดยจะนำผลการศึกษาที่ได้สรุปออกมาเป็นข้อเสนอโครงการ และส่งให้ทาง DE หรือ NIA ผ่านทาง มสช. โดยจะถูก Endorse ด้วยบริษัท Opensource Technology สามารถนำไปใช้งานต่อได้

คุณภาวิณี เสนอว่า บริษัท Opensource Technology จะมีการพัฒนาระบบเพิ่มเติม ถ้าการเสนอเพื่อให้ทางทีมทำงานคู่ขนานกับระบบเดิม แต่มีการ Implement Standard Hl7FHIR เพิ่มเติมลงไปด้วย ซึ่งอยู่ภายใต้แหล่งทุนคนละแหล่งแต่อยู่ในเนื้องานเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น สปสช. ว่าจ้างให้ทำระบบข้อมูลรายปี โดยปีนี้มีข้อเสนอที่อยากทำให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น โดยมีอีกองค์กรเข้ามาสนับสนุน เพื่อให้เห็นภาพได้จริง พอมีการ Implement ต้องเกี่ยวข้องกับคนหรือหน่วยงานที่อยู่ภายใต้โครงการนั้น ถ้าหน่วยงานไม่ทราบเรื่องจะทำให้การประสานงานค่อนข้างยาก แต่ถ้าหน่วยงานทราบเรื่องก็สามารถขอความร่วมมือได้ง่ายขึ้น

นพ.ปิยะ เสนอว่า จาก สวรส. ค่อนข้างยาก ควรที่จะเป็นทางฝั่งเทคโนโลยีโดยตรงดีกว่า และขณะนี้ สวรส. ค่อนข้างที่จะสนใจปัญหาโรคระบาด COVID-19 ที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่า

นพ.บุญชัย เข้าใจว่าที่คุยกับทางบริษัท Opensource Technology เพราะประเด็น Hospital OS ที่มีการทำ refer กับโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งขณะนี้มีความกังวลว่าจะส่งมอบงานไม่ทันกำหนด แต่พื้นฐานหลายแห่งยอมรับ Standard Hl7FHIR รวมถึง สปสช. ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรฐานนี้

นพ.กวิน เสนอว่า ทางกระทรวง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ นพ.อนันต์ มีทิศทางที่มุ่งไปที่เรื่องของการเชื่อมต่อโดยใช้มาตรฐานสากล คิดว่าทางบริษัทถ้าจับปประเด็นนี้ได้น่าจะได้เปรียบ

อ.ประพัฒน์ เสนอให้ จับเป็นโปรเจคที่ไม่ส่งผลกระทบต่อ Timeline ของบริษัท แต่จะทำเป็นคู่ขนานกันไป และจะแจ้ง stakeholders ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะฝั่งผู้ใช้บริการว่าจะมีการ Implement คู่ขนานกันไปและจะเป็นโจทย์ให้ทาง มสช. ลองหา Resource เพื่อหาทุนเข้ามาช่วยเหลือตรงนี้ได้ ส่วนนึงที่ทำงานกับบริษัท Opensource Technology เพราะมองเห็นว่าทางกระทรวงสาธารณสุข มีภาพที่จะ Implement เอา Hl7FHIR มาแทนที่ 43 แฟ้ม ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างกว้างมาก

ตัวระบบ e-Referral ที่ดำเนินการอยู่ ส่วนนี้มีปัญหาคือ ระบบของการดึงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูล (ระบบ API) ของ HIS มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าได้มาตรฐานเดียวกัน จะเป็นเรื่องที่ช่วยให้การส่งต่อข้อมูลได้สะดวกละรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งผู้ผลิตแต่ละบริษัทจะใช้มาตรฐานไม่เหมือนกัน จะมีปัญหาในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ขณะนี้มองว่าทำยังไงให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระดับประเทศ และขยายไประดับโลก สามารถเสกลได้ง่ายขึ้น ตอนนี้มีเครื่องมือตัวนึงที่สามารถช่วยได้คือ FHIR แต่ไม่สามารถ Implement ได้ทีเดียว แต่เราควรหยิบจับข้อมูลส่วนไหน ที่ค่อยๆทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

Pain Point แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) Claim – สามารถ Involve ฝั่ง Private sector เข้ามาได้ค่อยข้างเยอะ และมีแง่ดีในส่วนของการดึงความสนใจได้ อาจจะมี Resource เข้ามาให้พัฒนาได้รวมเร็วขึ้น แต่ขระเดียวกันคิดว่าน่าจะเรื่องของการเจรจาค่อนข้างเยอะและยาก (2) Refer – ไม่ค่อยมีประเด็น Finance มีเรื่องเกี่ยวกับ Health ค่อนข้างเยอะ

นพ.ก้องเกียรติ เสนอว่า ภาพที่จะให้ผู้อื่นใช้ แบ่งออกเป็น 2 มุมมอง (1) อาศัย พรก.ฉุกเฉิน – พูดคุยกับกับนายกรัฐมนตรี และคณะในการประกาศใช้มาตรฐานข้อมูล (2) ทำให้กลายเป็นพฤตินัย โดยส่วนตัวต้องการผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค (Technical expert) ที่จะขับเคลื่อนให้ถูกทิศทาง ถ้าเราสามารถร่วมงานกันได้ โดยให้ทีมโครงการฯ เป็นปรึกษาให้ทีมบริษัท Opensource Technology ขับเคลื่อนให้เป็นไปตามทิศทางที่ควรจะเป็น โดย Impact ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างน้อยคือ โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กที่ใช้บริการระบบข้อมูลมีประมาณ 10% และเครือข่าย สปสช. ในกทม. ก็จะเห็นภาพนั้นได้ และค่อยขยับต่อว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายภาพใหญ่อย่างไร

โดยคิดว่าจะทำวิดีโอที่ Educate เรื่องของ FHIR และเผยแพร่ความรู้เรื่องของ FHIR ผ่านเพจ Standards and Interoperability Lab – Thailand (อาจารย์ประพัฒน์เป็นผู้นำ และมี Host อยู่ที่ศิริราช)

อ.ประพัฒน์ เสนอให้ ตั้งทีมคณะทำงานของ พ.ก้องเกียรติ (บริษัท Opensource Technology) โดยให้ SIL Thailand เป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานชุดนี้ เพื่อร่วมกันสร้างระบบ และสร้างเครื่องมือเปิดเป็น Opensource ซึ่งโฟกัสที่ HIS เป็นหลัก โดยคณะทำงานของ นพ.ก้องเกียรติ จะโฟกัสที่ HIS ส่วนทีม SIL Thailand จะช่วยทีมอย่างเต็มที่ ส่วนงานอื่นที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ SIL Thailand ก็จะรับผิดชอบไป ซึ่งจะขอนัดประชุมคณะทำงานเพื่อ Map Output : โครงสร้าง, เครื่องมือ, Data set ร่วมกัน

คุณภาวิณี – ปัจจุบันมี HIS ในมือที่กำลังพัฒนา จะแบ่งออกเป็น 2 ทีม คือ (1) จะมีตัวระบบ HIS ที่กำลังปรับให้เป็น International standard สามารถเอา FHIR เข้าไปในทีมนี้ได้เลย (2) ทำเรื่อง Cloud based ในส่วนที่เป็น Small clinic กำลังปรับระบบให้เป็น Standard platform คิดว่าถ้าจะนำ Standard Hl7FHIR เข้าไปใช้ทั้ง 2 ทีม ไม่น่าจะมีปัญหา

ข้อสรุป

  • Next session นัดประชุมครั้งต่อไป >> ทีม SIL Thailand / ทีมพี่มุก – ทีมเทคนิคโดยตรง เข้ามา Involve ในลูปนี้ด้วย โดยทีมเทคนิคสามารถไปสื่อสารกับทีมได้อีกรอบนึง (เข้ามาประชุม 2 ท่าน IMED: Scale ใหญ่ Hospital OS: Scale เล็ก)
  • นพ.บุญชัย ประชุม Core team เรื่อง SIL แบ่งออกเป็น 2 ทีม กรมการแพทย์รีเควสไปทำเทรนนิ่ง FHIR เจ้าหน้าที่เทคนิคและหมอ โดย Include เอาทุกโรงพยาบาล ทุก Developer เข้ามาอยู่ในการอบรม (ควรจะ)

——————————————–

                                                                                                โสภิชา เรือนผึ้ง สรุป/เรียบเรียง