แชร์ไปยัง
Facebook

ส่งไปยัง
Email

ดาวน์โหลดไฟล์

สภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดสุขภาพทางสังคมทางตรงและทางอ้อม และยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตของผู้คนและชุมชน ซึ่งจะส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของคนเหล่านั้นในที่สุด ในที่นี้จะขอพูดถึงสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพช่องปากในแต่ละด้าน ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แม้ประเทศไทยจะมีนโยบายเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดี แต่การเข้าถึงบริการทันตสุขภาพยังมีเพียงร้อยละ 10 ของประชากรในประเทศ เกิดความเหลื่อมล้ำเรื่องปัญหาฟันผุ ปริทันต์ และมะเร็งช่องปากระหว่างในเมืองกับชนบท โดยเฉพาะผู้มีฐานะยากจนมีแนวโน้มเป็นโรคมากกว่าเพราะเข้าถึงบริการได้น้อยกว่า
ด้านผลิตภัณฑ์อนามัยช่องปาก มีการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.42-2548 สำหรับแปรงสีฟัน มาตรฐานวิชาการแปรงสีฟันของกรมอนามัย พ.ศ. 2559 แต่ยังพบแปรงสีฟันที่ไม่ผ่านมาตรฐานกว่าร้อยละ 24.8 ซึ่งเข้าถึงง่ายในเขตชนบท และประกาศสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสมในยาสีฟัน พบว่าร้อยละ 80 เข้าถึงยาสีฟันฟลูออไรด์ แต่สัดส่วนยาสีฟันฟลูออไรด์ในตลาดกลับลดลงในปัจจุบันเพราะมีการส่งเสริมการตลาดยาสีฟันกลุ่มสมุนไพรมากขึ้น ประชากรไทยจึงให้ความสำคัญของฟลูออไรด์น้อยลง
ด้านอาหาร พบการบริโภคน้ำตาลของคนไทยเฉลี่ย 85-96 กรัมต่อวัน ซึ่งมากกว่าที่ WHO แนะนำถึง 3 เท่า เสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวาน และฟันผุ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการโฆษณาทางการตลาดที่กระตุ้นให้มีการบริโภคน้ำตาลมากเกินควร
ด้านยาสูบ แม้ประเทศไทยมีความสำเร็จในการควบคุมยาสูบในระดับนโยบายที่ดี แต่ก็ยังมีความพยายามในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสูบใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง เข้าถึงง่าย โดยเฉพาะกับเยาวชน เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ในอนาคต โดยมีเอกสารจาก WHO ได้ระบุว่า บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง 5-6 เท่า เกิดโรคปริทันต์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เสี่ยงต่อฟันผุ 1.5-2 เท่า เสี่ยงต่อการสูญเสียฟัน 1.5 เท่า

แนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมเหล่านี้ต้องเริ่มที่
– การจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เชื่อมโยงทั้งด้านเศรรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
– ยกระดับบทบาททันตบุคลากรเชิงโครงสร้างการบริการจากผู้รักษาเป็นผู้ป้องกัน
– ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อนามัยช่องปากที่ต้นทาง และการเผยแพร่ข้อมูลในการเลือกใช้แก่ประชาชน
– ลดปัจจัยเสี่ยงร่วม บูรณาการร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพโดยรวมและสุขภาพช่องปาก เช่น ระดับท้องถิ่นคนในชุมชนช่วยดูแลควบคุมการจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำตาลและการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทันตอนามัยที่มีมาตรฐานในเขตชุมชน โรงเรียน เป็นต้น
– ทุกภาคส่วน