คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์เรื่องโรคไม่ติดต่อ ครั้งที่ 1/2563

วันที่ 8 มกราคม 2563
ณ ห้องประชุมชั้น 1 มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

เกริ่นนำ

นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานคณะกรรมมูลนิธิสาธารณสุชแห่งชาติ เกริ่นนำขอบเขตการดำเนินงานตลาดอาหารในประเทศไทย ในการประชุมเดือนธันวาคมได้นำหัวข้อเรื่องลดการบริโภคเกลือมาหารือ นำโดย ผศ.นายแพทย์ สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ เครือข่ายลดเค็มประเทศไทยมีเป้าหมายมาตรการทางาภาษีให้อุตสาหกรรมลดเกลือเริ่มต้นใน 5 ผลิตภัณฑ์ และวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมาตรการไม่ใช่ภาษี เดือนมกราคมนี้คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์เรื่องโรคไม่ติดต่อเลือกเรื่องตลาดอาหารที่มีการขับเคลื่อนแต่ข้อติดขัด จึงต้องการหารือวิธีการทำงานเคลื่อนไหวช่องทางกฎมาย หรือมาตรการทางสังคม ในเรื่องตลาดอาหาร ทีมงานพยายามเสนอความคิดต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  ซึ่งมีคุณหมอประวิทย์ที่รู้เรื่อง กสทช. แต่วันนี้มาไม่ได้ เรื่องที่นำเข้ากสทช.ต้องดูรายละเอียดว่า กสทช.ว่าดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน

มาตรการอาหารและความคืบหน้าการพัฒนากฎหมายควบคุมตลาดอาหารเสี่ยงสุขภาพ

ดร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ รองผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กล่าวแนะนำวิทยากร 2 ท่านมาจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (International Health Policy Program : IHPP) ศึกษามาตรการอาหารและความคืบหน้าในการเคลื่อนไหวการพัฒนากฎหมาย เนื้อหาเรื่องการควบคุมตลาดอาหารเด็กที่เชื่อมโยงกับการคุมโฆษณา และ ภาพรวมอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ โดยมีเป้าหมายการทำงานส่งเสริมการบริโภคที่ไม่เสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งไม่มุ่งเน้นเพียงการกำกับควบคุมการตลาดเพียงอย่างเดียว

คุณนงนุช จินดารัตนาภรณ์ นักศึกษาปริญญาเอก สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล  อธิบายหัวข้อนำเสนอนโยบายควบคุมอาหาร 4 หัวข้อ หนึ่ง สถานการณ์ในประเทศ สอง หลักการควบคุมการตลาดมายังไง สาม ทบทวนงานต่างประเทศมีประเด็นอะไรบ้าง ซึ่งจะเน้นที่การควบคุมตลาดของสหภาพยุโรป สี่ แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 -2564) ห้า  การควบคุมตลาดอาหารในประเทศไทยและช่องว่างติดขัดอย่างไร

รายงานการสื่อสารการตลาดอาหารในโรงเรียน กับทัศนคติพฤติกรรมการซื้อ และการบริโภคอาหารของเด็กประถมศึกษา[1] กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของอาหารสร้างมายาคติให้แก่เด็กใช้เทคนิคทางการตลาดของอาหารหวานมันเค็มสูง ประเภทขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว พบว่า บริษัทจะทำการตลาดด้านราคาและใช้นักแสดงมีชื่อเสียงในการโฆษณา ขณะเดียวกันประเภทอาหารรสเค็ม การตลาดส่งเสริมการขายด้วยวิธีการชิงโชครางวัลใช้นักแสดงที่มีชื่อเสียงในกลุ่มเป้าหมาย สำหรับเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่มีรสหวานทำชิงโชคลักษณะเป็นฤดูกาลช่วงตุลาคม ถึง มีนาคม และ มีนาคม ถึง พฤษภาคม เป็นแบบแผนทางการตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลม ส่วนฟาสต์ฟูดส์ใช้วิธีลดราคาเป็นหลัก ใช้คำที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าราคาถูกลง

ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมันและเกลือสูงในเด็กข้างต้นทำให้ประชาคมโลกตระหนักถึงการควบคุมและป้องกันตลาดอาหารที่มีน้ำตาล ไขมันและเกลือสูงในเด็ก จากการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 63 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ลงมติรับรองชุดข้อเสนอแนะว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในเด็ก และเสนอแนวทางให้ประเทศสมาชิกกำหนดนโยบายการจัดการสื่อสารการตลาดอาหารในเด็ก รวมถึงร่วมมือทำงานระหว่างภาคีเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ และสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ผลกระทบของการทำตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล  ไขมันและเกลือสูง และสร้างสภาพแวดล้อมด้านอาหารที่เหมาะสมกับการบริโภคอาหารที่มีสุขภาพ ตลอดจนควบคุมน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ผลการศึกษาผลกระทบการสื่อสารทางการตลาดที่วิเคราะห์จากหลายหลักฐาน[2] เคลลี่ บริจิท และคณะวิจัย ประเทศออสเตรเลียศึกษาการสนับสนุนของบริษัทอาหารแก่โรงเรียนส่งผลต่อพฤติกรรมการรับรู้ของเด็ก เมื่อเด็กได้รับรู้ทำการตลาดเปิดรับโฆษณา มีทัศนคติที่ดีในสินค้าที่โฆษณา เพิ่มความชอบสินค้าที่โฆษณาและเด็กมีช่องทางในการเรียกร้องร้องขอพ่อแม่ และกินด้วยตนเองกินอาหารมัน ลดทอนการกินอาหารสุขถภาพ จนเป็นพฤติกรรมการบริโภคจนนำไปสู่โรคอ้วน

รายงาน Global Status Report[3] ว่าด้วยโรคไม่ติดต่อ 2010 ในหมวด Unhealthy diet จากตารางมาตรการ best buy – Reduce salt intake / Replace trans-fat with polyunsaturated fat / Promote public awareness about diet สำหรับมาตรการ Good buy – Restrict marketing of food and Beverage to children / Replace saturated fat with unsaturated fat/ Manage food taxes and subsidies/Offer  counselling in primary care/ Provide health education in worksites/Promote healthy eating in schools โดยเฉพาะมาตรการควบคุมโฆษณาออนไลน์ ไม่ใช่แค่การควบคุมการโฆษณา แต่เพราะว่ามาตรการตลาดอาหารเป็น best buy ซึ่งเป็นมาตรการที่ very cost effective หนึ่งในหลาย intervention ที่มีประสิทธิภาพ แม้หลักฐานทางวิชาการยังไม่ได้แข็งแรงมาก

ข้อรับรองมติสมัชชาอนามัยโลก ค.ศ. 2010[4] ระบุการควบคุมการตลาดอาหารในเด็ก ข้อเสนอแนะที่เด่นชัดคือ การลดการเปิดรับความถี่ของความเสี่ยง และ ลดเทคนิคทางการสื่อสารการตลาด (Market power) ที่เด็กพบเจอ ยกตัวอย่างคนดัง การ์ตูน และอาหารประเภทใดเอาออกจากการกำกับควบคุมในประเทศไทยและสากล

ต่อมา ค.ศ. 2014 องค์การอนามัยโลกออกรายงานที่นำไปสู่การปฏิบัติ childhood obesity[5] ระบุช่องว่างมาตรการของการปฏิบัติการในประเทศและในระดับสากล 1 ในมาตรา unhealthy diet จากรายงานกาควบคุมตลาดอาหารในสหภาพยุโรป สรุปข้อบังคับที่จำเป็นดังต่อไปนี้

อ้างอิง WHO 2012 A Framework for implementing the set of recommendations on the marketing of foods and non-alcoholic beverages to children

สถานการณ์ของประเทศสมาชิกภายใต้ภูมิภาคสหภาพยุโรป นิยามอายุเด็กแตกต่างกัน สำหรับสหภาพยุโรป เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีเป็นข้อตกลงร่วมกัน กรณีประเทศอังกฤษเด็กอายุต่ำกว่า16  ปี ไอร์แลนด์อายุต่ำกว่า 18 ปี ทั้งอังกฤษและไอร์แลนด์มาตรการควบคุมโฆษณา เป็นข้อบังคับไม่ใช่สมัครใจ โดยควบคุมช่องทางและเนื้อหา มีการควบคุมโฆษณาอาหารบนจอโทรทัศน์แบบบังคับไม่มีการโฆษณาอาหารที่จูงใจ อย่างไรก็ดี ในสองประเทศนี้มีการควบคุมเว็บไซต์และโซเชี่ยลมีเดียเป็นสมัครใจ สำหรับ EU เป็นข้อตกลงร่วมกันเป็นแบบสมัครใจเรียกว่า EU Plate

ประเทศอังกฤษและไอร์แลนมีการควบคุมเนื้อหาการโฆษณาในการออกอากาศโทรทัศน์ ควบคุมคาแรคเตอร์ และ ช่วงเวลา รวมทั้งจำกัดการวางสินค้าไว้ในรายการโทรทัศน์ ในแง่โฆษณาโภชนาการไม่มีการอ้างอิงบริษัท ผู้ผลิตนอกจากนี้มีการควบคุมการทำการตลาดอาหารในโรงเรียนรูปแบบอื่นด้วย ผลจากข้อบังคับระดับภูมิภาคยุโรป ประเทศนอร์เวย์กับโปรตุเกสไม่มีการทำการตลาดอาหารในโรงเรียน  ยกตัวอย่าง การจัดกิจกรรมเอาสปอนเซอร์แบรนด์บริษัทอาหาร แม้ในระดับสหภาพยุโรปเป็นแบบสมัครใจ แต่ส่วนใหญ่ไม่มีการทำการตลาดในระดับประถมศึกษา มัธยมต้นและมัธยมปลาย ซึ่งมีอนุกรรมการฯ โรงเรียนดูแล  มาตรการสภาพยุโรป ห้ามป้ายโฆษณาขนมเด็กไม่เกิน 100 เมตรรอบรั้วโรงเรียน ในอังกฤษถ้าราคาโปรโมชั่นในรายละเอียดไม่ให้โฆษณาทำไม่ได้เหล่านี้เป็นมาตรการ

ผลจากมาตรการเหล่านี้ สำหรับอังกฤษมีการควบคุมโทรทัศน์เพื่อลดการบริโภคอาหารน้ำตาล ไขมันสูง แต่อาหารเหล่านี้ปรากฎในตัวแสดงตามที่ต่างๆ เพราะไม่ได้ควบคุมและไม่ครอบคลุม ในประเทศไอร์แลนด์ โฆษณาอาหารเสี่ยงสุขภาพไปปรากฏในช่องอื่นๆ  กรณีประเทศนอร์เวย์ พวกผลิตภัณฑ์อาหารสูง การโฆษณาลดลงจริงในช่วงเวลาเด็ก โปรตุเกสไม่สนใจแบบสมัครใจที่มีอยู่ โดยสรุปมาตรการควบคุมโฆษณาอาหารเด็กยอมรับในเรื่องสมัครใจแต่ไม่ประสบความสำเร็จในแง่การบังคับใช้การตลาดข้ามประเทศ

ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) ในกลยุทธ์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนานโยบายสาธารณะและกฎหมายทีสนับสนุนการป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ

1.1 เร่งรัดให้เกิดนโยบายสาธารณะระดับชาติที่เน้นการจัดการโรคไม่ติดต่อ

1.2 พัฒนามาตรการทางการเงิน การคลัง ภาษี การผลิต การตลาดการบริโภค ที่เกี่ยวข้องกับการลดเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อ ในเรื่องข้อเสนอมาตรการที่สอดรับกับยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 มาตรการภาษีการคลังการเงิน การผลิต การตลาดที่เกี่ยวกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อและการโฆษณา ในแผนปฏิบัติการตลาดอาหาร

กฎหมายการควบคุมโฆษณาอาหารในเด็กที่เกี่ยวข้องของ 2 หน่วยงาน

1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

อย.ได้ปรับปรุงประกาศร่างกฎหมาย เรื่องหลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2551[6] มาสู่  พรบ.หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร 2556[7] พยายามรวมข้อบังคับที่เกี่ยวกับโฆษณาไว้ด้วยกัน ออกมาเป็นประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องหลักเกณฑ์การโฆษณา พ.ศ. 2561[8]

เนื้อหาของกฎหมายประกาศหลักเกณฑ์การโฆษณาเพื่อควบคุมอาหาร 3 มีประเภทสินค้า ขนมขบเคี้ยว ข้าวเกรียบ มันฝรั่งทอด ช็อคโกแลต ขนมอบกรอบเวเฟอร์ มีคำเตือนควบคุมด้วยข้อความ8 มีสปอตโฆษณาในสามกลุ่มบริโภค ส่วนขนมเยลลี่มีมีส่วนผสมหัวบุก เวลาการโฆษณาเด็กต้องมีข้อความเตือน เด็กไม่ควรกินเพราะกลัวสำลักและผู้แสดงแบบอายุไม่เกิน 12ปี เน้นภาพอย่างไร อาหารสำเร็จรูปพวกโจ้ก ม่าม่า ภาพอย่างไรข้อความเตือนอย่างไร ควรกินอาหารหลากหลาย 5 หมู่ในสัดส่วนที่จำเป็น เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ควบคุมผู้แสดง และ มีคำเตือนห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด ตามมาตรา 40 องค์การอาหารและยามีบทบาทหน้าที่ดูเฉพาะการอวดอ้างสรรพคุณอาหารเท่านั้น แต่อย. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องเทคนิคการควบคุมโฆษณาอื่นๆ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ควบคุมการโฆษณาให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค ดูสินค้าและบริการทุกชนิด ถ้าจะโฆษณาต้องเสดงรายละเอียดต่อไปนี้

2. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (National Broadcasting and Telecommunication Commission) หรือ กสทช. (NBTC)

กสทช.มีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2551  ดูสินค้าบริการทุกชนิด กำหนดเวลาฟรีทีวีชั่วโมงละไม่เกิน 2 นาทีเพื่อคุมระยะเวลาในการโฆษณา ต่อมา สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศทำวิจัยทำฟรีทีวีกับมีเดียมอนิเตอร์[9] พัฒนาร่างพรบ. ประกาศโฆษณา พ.ศ. 2556 มีการจัดแถลงข่าวและขับเคลื่อนทางนโยบาย โดยมี กสทช. รับเรื่อง คุณอภิญญา กลางณรงค์ และมีเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังสื่อ สถาบันสื่อและเยาวชน มีทำให้กสทช. ออกร่างประกาศหลักเกณฑ์การโฆษณา พ.ศ. 25569 ทำวิเคราะห์ผู้ส่วนได้ส่วนเสียสองครั้งเพื่อผลักดันนำไปสู่การประชุมคณะกรรมการ แต่ไปติดที่คณะกรรมการควบคุมเนื้อหาของพลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยหยุดไปนานจนกระทั่งเครือข่ายผลักเข้ามาใหม่ปี  2558 ทำเรื่องทวงถามความก้าวหน้า กสทช.แจ้งว่ากำลังปรับปรุง ล่าสุดเดือนพย. พ.ศ.2562   กสทช. ไม่ได้พูดถึงร่างประกาศที่เครือข่ายเคยผลักดัน แต่เสนอว่าหากมีเรื่องที่ให้ร้องเรียนมา

เครือข่ายยกร่าง พรบ. ยื่นเสนอร่างต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการโฆษณาและการบริการธุรกิจ[10] มีเนื้อหาในภาพรวม กสทช. มีอำนาจในการออกประกาศโฆษณาภาพรวมได้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 27 (6) และ (24) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 23 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551  ว่าหลักเกณฑ์การโฆษณาถ้าออกสื่อเฉพาะกิจการกระจายเสียง วิทยุและโทรทัศน์ เพื่อให้เนื้อหาของโฆษณา บริการทางธุรกิจ การประชาสัมพันธ์ หรือการเสนอภาพลักษณ์ และการแฝงสินค้าหรือบริการไม่มีลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ประกาศหลักเกณฑ์การโฆษณาแก่ช่องที่มีใบอนุญาต กสทช.สามารถควบคุมโฆษณาทุกชนิดที่ออนแอร์บนจอโทรทัศน์และวิทยุ ควบคุมสินค้าและบริการทุกชนิด แต่คุมเชิงเทคนิคการสื่อสารการตลาดได้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมที่สรรพคุณและคุณประโยชน์ตัวอาหารได้ ยกตัวอย่าง ในช่วงรายการเด็กและเยาวชน ห้ามใช้คนดัง หุ่นการ์ตูน และเด็กลดแลกแจกแถมไม่ได้ การระบุช่วงเด็กให้ 2 นาทีให้ความรู้สุขภาพกับเด็กให้ จาก 12 นาที

ทบทวนยุทธศาสตร์ต่างประเทศการบังคับเพื่อควบคุมโฆษณาอาหารเด็กในกิจการโทรทัศน์ 

ดร.ภญ.ธนพันธ์ สุขสะอาด สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ  เสนอประเด็นทบทวนยุทธศาสตร์ต่างประเทศบริบทใกล้เคียงกับประเทศไทย กรณีประเทศเกาหลีใต้ มีการควบคุมดูแลระดับแตกต่างกัน สิ่งที่น่าสนใจการบังคับเพื่อควบคุมโฆษณาอาหารเด็กในกิจการโทรทัศน์ ช่วงเวลาและอายุแตกต่างกันในเด็กต่ำกว่า 12 ปี บางประเทศขยายอายุเด็กไป 14 ปี อาหารที่ควบคุมเป็นอาหารที่มีพลังงานสูง ไขมัน น้ำตาลสูงงดการโฆษณาในโทรทัศน์ และประเทศแคนาดาที่ขยายออกไปทุกสื่อ อินเตอร์เน็ต โมบายโฟน ภาพ ออกไปยังอาหารทุกประเทศที่มีเป้าหมายเด็ก

ประเทศเกาหลี มีกลไกทำงานควบคุมโฆษณาอาหารในเด็กชื่อ Committee on Safety Management of Children’s Dietary Lifestyle, Korea มีโครงสร้างคณะทำงานที่กำกับดูแล ตำแหน่งประธานมีการเวียนตำแหน่งหลายภาคส่วนมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ตอนนี้ประธานจากภาคเอกชนและมีความรู้จากหลายส่วน กำหนดการประชุมมีความสม่ำเสมอ ประมาณ 3-4 ครั้งต่อปี ความสำเร็จเกิดจากการพัฒนานโยบายร่วมกัน ตัวอย่าง มีการควบคุมด้านอาหารด้านเนื้อหา และการให้ข้อมูล ภาพการทำงานในกลไกที่ชัดเจนในการทำงานดำเนินการควบบคุมนจะเห็นภาพมากขึ้น

ประเทศสหรัฐอเมริกามีกลไกที่สำคัญชื่อ Children’s Online Privacy Protection Act (COPPA)  เน้นการดูสื่อออนไลน์เพื่อการปกป้องสิทธิของเด็ก การปรับปรุงหรือปรับการควบคุมเว็บไซต์ใหญ่ ยกตัวอย่าง ยูทูปเป็นสื่อหลักและสื่อใหญ่ที่สัมผัสเด็ก เอากฎระเบียบของเขาไปกำกับควบคุมสื่อออนไลน์และกิจการต่างๆ ที่เผยแพร่ในยูทูป บอกได้ว่ายูทูปว่ามีกิจกรรมที่เสี่ยงอะไรบ้าง ซึ่งมีกรณีศึกษาการปรับยูทูปเป็นเงิน 170 ล้านดอลล่า ส่งผลยูทูปเปลี่ยนนโยบายการโฆษณาสื่อที่ผลกระทบต่อเด็กเกี่ยวกับเนื้อหา และข้อกังวลมาจาก US Federal Trade Commission FTC ภายใต้ ACT ตัวนี้ ตัวอย่างที่น่าสนใจการที่เรามีกฎระเบียบและบังคับใช้เข็มแข็งแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง

ข้อวิเคราะห์กฎหมาย กสทช. ที่มีหลักเกณฑ์ควบคุมโฆษณาให้อำนาจกว้างควบคุมได้หมด ไม่ได้กำหนดว่าควบคุมอย่างไร มีพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กิจการและโทรคมนาคมฯ พ.ศ. 2551 เป็นตัวแม่หลักควบคุมกำหนดเวลา และ พรบ. 2553 องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และประกอบกิจการและโทรคมนาคมฯ ให้อำนาจแตกต่างกัน รวมทั้งเนื้อหาและช่วงเวลาด้วย

เมื่อเปรียบทียบกฎหมายไทยและสหภาพยุโรป พบว่าสหภาพยุโรปมีความก้าวหน้าในบางประเทศ แบบมาตรากรควบคุมและสมัครใจ เพราะเป็น digital platform หลักเกณฑ์ควบคุมโฆษณาอาหารในเด็กต่ำกว่า 12 ปี แต่มันกว้างไป เป็นไปได้ไหมที่จะผลักดันร่างกฎหมายเข้า กสทช. และ ตอนนี้มีกฎหมายบังคับใช้บางส่วนแต่ไม่ครอบคลุมเทคนิคที่ใช้ จึงต้องการให้พัฒนาคู่มือการขออนุญาตโฆษณาอาหารในเด็กออกมาก่อน ในส่วนของภาคเอกชนก็มีสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการโฆษณาอาหารเด็ก แต่ไม่มีการรายงาน feedback การควบคุมและบังคับใช้ และสมาคมโภชนาการประเทศไทยไม่ได้เป็นเจ้าภาพหลักการบังคับใช้ พรบ.

วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการควบคุมโฆษณาอาหารในเด็ก หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในปัจจุบันคือภาครัฐ อย. สำนักโภชนาการ สช. กสทช.และกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม FDA มีบทบาทกำกับควบคุมโฆษณาเนื้อหาและคำเตือน เน้นคุณประโยชน์และความปลอดภัย แต่ไม่เน้นส่วนปริมาณและอาหารที่ต้องบริโภคมากน้อยแค่ไหน แต่ส่วนของการกำกับเวลาทางอย.ไม่ได้มองเข้าไปลึกซึ้ง กฎหมาย กสทช.มีการกำกับเวลาใน 1 ชั่วโมง แต่ไม่ดูลึกซึ้งว่าส่วนไหนห้ามโฆษณาอาหารส่งผลกระทบถึงเด็ก เพราะไม่ใช่หน้าที่ของกสทช. โดยตรงจึงจำเป็นต้องมีการผลักดันหลักเกณฑ์ควบคุมโฆษณาอาหารในเด็ก ที่รวบรวมข้อวิเคราะห์จากนักโภชนาการควรมาเป็นทีมวิชาการร่วมกัน

  1. มติสมัชชาสุขภาพ มีมติการขับเคลื่อนภาวะโรคอ้วนที่เจาะตลาดอาหารเด็ก แต่มติสมัชชามีลักษณะ soft law ไม่ได้ระบุบทบาทหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องลงไปทำงานที่ชัดเจนและ ติดตามประเมินผลการดำเนินการรูปธรรมที่เกิดขึ้น
  2. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  เน้นการโฆษณาการชิงโชคและการส่งเริมการบริโภค Marketing share ไม่ได้เกี่ยวข้อง
  3. กระทรวงดิจิทัล เพราะเป็นแพลตฟอร์มทางโซเชี่ยลมีเดีย ยังไม่ได้เข้ามีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดูแลโฆษณาที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก

ข้อจำกัดการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุม หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่การทำงานยังเป็นกิจวัตร (Routine)  ไม่ได้มีเจ้าภาพหลักที่ออกขับเคลื่อนนโยบายการตลาดที่ชัดเจน

ข้อเสนอ การดำเนินงานควรมีหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ดูแลการตลาดทุกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยตรง ที่อาศัยกลไกหลักจัดการประเด็นนี้ หรือ ทำให้กลไกปัจจุบันมันแข็งแรงมากขึ้นมีการบังคับควบคุมครอบคลุมทุกแพลทฟอร์มการโฆษณาที่นำลงไปปฏิบัติได้

ช่วงแลกเปลี่ยนซักถาม

1. ข้อจำกัดของวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดอาหาร

ข้อจำกัดการวิเคราะห์สถานการณ์เรื่องการควบคุมตลาดอาหารในประเทศไทยและต่างประเทศ ด้าน หนึ่ง ฉายภาพอุตสาหกรรมอาหารทำการตลาดกับอาหาร หวาน เค็ม มัน ที่เกินจนเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพราะการตลาดกว้างกว่าการโฆษณา สอง พัฒนาการของข้อมูลโฆษณาและช่องทางการทำการโฆษณา ยกตัวอย่างที่อเมริกา มีการควบคุมโฆษณาสื่อสารอย่างครอบคลุม เช่น ยูทูป

จากการวิจัยอุตสาหกรรมอาหาร 50 บริษัท  พ.ศ. 2555 ขบวนการอุตสาหกรรมอาหาร การตลาดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมันและโซเดียมสูงในเด็กและเยาวชนของประเทศไทย เจะศึกษาการตลาดดูรายงานงบการเงินที่ส่งให้กระทรวงพาณิชย์ ผู้เล่นอุตสาหกรรมในสนามมีอะไรบ้าง ยุทธวิธีของบริษัทอาหารใช้การตลาดสื่อสารบูรณาการ (integrated marketing communications strategy :IME)   หมายถึง การบูรณาการสื่อสารการตลาดทั้งหมด ไม่ใช่เพียงการโฆษณาเพียงออนแอร์ ในโลกการโฆษณาอาหารในโซเชี่ยลมีเดีย พบว่าในเน็ทฟลิกส์ชุกที่สุดที่ชวนไปเล่นเกมส์และซื้ออาหาร แต่ไม่สามารถระบุอายุเด็ก เพราะพิจารณาจากความถี่ โฆษณาอาหารยังไม่กระทบกับเด็กมากเท่ากับโฆษณาเกมส์

ในด้านกลไกภาครัฐทำหน้าที่ควบคุมโฆษณาเพียงอย่างเดียว และปฏิบัติการมากน้อยแค่ไหน ผลการดำเนินการควบคุมการโฆษณาไม่ว่าอย. กสทช. สคบ. การประเมินการขับเคลื่อนต้องบทบาทรับผิดชอบการคุมโฆษณามีความจำเป็นแค่ไหน ควรดูภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารทำก่อน Marketing as a whole หน่วยงานอะไรบ้าง และที่ไม่ได้ทำมีอะไรบ้าง จึงจะยกร่างตัว policy recommendation

การควบคุมโฆษณาเด็กเกี่ยวกับอาหารในองค์กรเอกชน กรณีองค์การยูนิเซฟหารือกับกรมอนามัย จนมีการตั้งกรรมการแต่ไปแฝงกับ non patch measure ลดน้ำตาล ทำให้ไม่มีกรรมการเรื่องการตลาดอาหารเด็กอย่างจำเพาะเจาะจง จึงดำเนินเรื่องให้อย.ตั้งกรรมการชุดนี้ อย่างไรก็ตาม ผอ.สำนักโภชนาการสื่อสารว่าตนเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการอาหารชาติอยู่แล้ว ไม่อยากตั้งกรรมการชุดที่ดูแลการตลาดอาหารเด็กขึ้นมาอีก

2. ข้อเสนอการหาหลักฐานมาสนับสนุนนโยบายและการสื่อสาร

การหาหลักฐานมาสนับสนุนนโยบายและการสื่อสารทางนโยบาย มีประเด็นถกเถียงพฤติกรรมทางสังคมของการกินเค็ม ไม่ใช่เสพติดแบบเหล้าบุหรี่ การทำงานศึกษาต้องทำงานข้อมูลเชิงบริบททางนโยบายและพลวัต (dynamic + analysis measure) วิเคราะห์แบบแผนการบริโภคอาหารและเปลี่ยนแปลงจากงานบริการอาหาร  Grab food  ฉะนั้นอาหารสำเร็จรูปจะแคบแล้ว เพราะ unhealthy diet ก็มีเยอะ ในประเทศที่มีควบคุมการโฆษณาต้องชี้ให้เห็นบริบทหลักเกณฑ์และเครื่องมือที่ส่งผลกระทบต้องแสดงออกมาให้เห็น ว่ามีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย และ scenario จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย

การทำงานวิชาการกับกลุ่มนักโภชนาการเพื่อได้ข้อเสนอที่คงเส้นคงวา (Consistency) ต่อกรณีอาหารสำเร็จรูป เพราะข้อถกเถียงนักโภชนาการลดบางตัวที่ดีกับสุขภาพอาจเกิดความเสี่ยง เสนอไม่ใช่ให้ยกเลิกทันที 0% บางเรื่องเป็นเฉดเป็นแบรนด์ ลด o เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ เช่น ลดจุลินทรีย์ใส่สารกันบูดแทน ประเด็นหักล้างต่อกรณีหลักฐานสนับสนุนโรคอ้วนซับซ้อนมาก ต้องทำหลายระดับที่ส่งผลกระทบให้คนตระหนักรู้ ยกตัวอย่างน้ำตาล มี Product reformulation มีบริษัทขอลดน้ำตาลเพื่อขอสัญลักษณ์ฉลากสุขภาพ (healthier logo) 50 ผลิตภัณฑ์ การทำงานสาธารณะประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่นโยบายแต่การเปลี่ยนแปลงเกิดในร้านชานม เกิด indirect consequence ที่ต้องการและไม่ต้องการ ยกตัวอย่างงานศึกษาที่จังหวัดพะเยาทำ มีตัวอย่างให้เห็นหวานมากไปน้อย เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการสื่อสารกับอุตสาหกรรม และวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครอบคลุมภาคเอกชน

ข้อเสนอต่อการโต้แย้งของนักโภชนาการ ควรศึกษาเชิงระบบการตลาดและการบริโภค เพราะงานศึกษาการขายหลังจากมีกฎหมายห้าม complex มากการศึกษาไปไม่ถึง แต่การศึกษายอมรับข้อมูลในแง่ time series ข้อมูลก่อนประกาศกฎหมายและหลังบังคับใช้ออกกฎหมาย กรณีงานวิจัยเรื่องเด็กกับสื่อยูทูปควรทำมาเป็น case study เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ทำ setting  เด็กเพื่อการสื่อสารโรงเรียนและครอบครัว ขอยกโมเดลการทำงานของ Sydney principle เวลายิงสปอตสื่อสารรณรงค์ในสถานที่เด็กที่รวมกัน ถ้าถามถึงผลกระทบ intervention ชัดเจน แต่นโยบายยังไม่ชัด  HITAP ทำเรื่อง Cost – effective การทบทวนโฆษณาอาหารทางทีวี[11]

หลักฐานสนับสนุนนโยบายที่น่าสนใจ การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพทางบวกที่ยังลงทุนทำน้อย และ ติดตามว่าได้ผลต่อเนื่องอย่างไรบ้าง ใครควรเข้ามาเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนอกจากกลไกของรัฐ การส่งเสริมพฤติกรรมสิ่งที่ดีต้องเกี่ยวข้องกับฝ่ายองค์กรกลุ่มที่เคลื่อนไหวด้านอาหาร  พฤติกรรมการกินของเด็ก ถ้าทำคลิปเด็กกินอาหารสุขภาพ เพื่อสำรวจการตัดสินใจที่สมเหตุสมผลของเด็ก หรือมีเนื้อหาที่ approach Social Marketing ทางบวกลด NCDs  ข้อจำกัดของ Front of Pack Labeling เพิ่มฉลากและคำเตือน ข้อเสนอจากสถาบันอาหารเป็นหน่วยงานเครือข่ายของอยู่กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินมา 5 ปีแรกเท่านั้น สถาบันมีบทบาทสนับสนุนมาตรฐานของอุตสาหกรรมอาหาร กรณี Healthier logo พยายามเข้าไปเสนอสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  (สสว.) เพื่อนำเสนอคุณภาพอาหาร ปี 2563 บทบาทให้คำปรึกษาผู้ประกอบ SME ที่ร่วมโครงการ ทดสอบมาตรฐาน ปรับสูตรเรื่องการขอโลโก้ ทำให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าที่มีคุณภาพภายใต้ healthier logo  สินค้าได้รับโลโก้จากอย.แล้ว แล้วส่งมาปรึกษาเราเรื่องปรับสูตรให้มีคุณภาพ ความท้าทายคือปรับสูตรแล้วขายได้ดีไหม ส่วนใหญ่คนทั่วไปไม่ทราบว่าดีกับสุขภาพอย่างไร แล้วสิ่งที่ผู้ประกอบการปรับสูตรแล้วยังขายผลิตภัณฑ์ดีขึ้นไหม ยอดขายดีขึ้นไหมไม่ดี สูตรนั้นจะหายไปจากตลาด

กลไกคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ทำงานมูลนิธิหลายส่วนใน อย. ฐานะเลขานุการพิจารณาออกโลโก้ ทำงานภายใต้มูลนิธิฯ มีบุคลากรดูเรื่องโภชนาการเริ่มที่อาหารสำเร็จรูป คือ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล นม  มันต้องมีการตกลงเกณฑ์กับอุตสาหกรรมร่วมกัน มี 4 ผลิตภัณฑ์ สำรวจตลาด และเกณฑ์วิชาการเกลือ และน้ำตาลเท่านั้น ให้ใกล้เคียงทางวิชาการมากที่สุด ตกลงกับอุตสาหกรร แล้วให้โลโก้ออกมา

ความแตกต่างระหว่าง  Healthier logo และ Healthier claim หน่วยงานที่ดูแล Healthier logo คือ มูลนิธิฯ  ภายใต้กลไกคณะกรรมการอาหาร

3. ข้อจำกัดวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญคือ กลุ่มผู้บริโภคและหลายภาคส่วนที่ยังไม่ครอบคลุม ถ้าดู supply side การผลิตควบคุมยาก เกลือที่จับอุตสาหกรรมมีแรงต้านสูง อย.ก็ไม่สร้างพื้นที่หรือกลไกที่จะ neutral อุตสาหกรรมด้วย อาหารเชื่องโยงกับสุขภาพยังต้องการหลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนนโยบายพฤติกรรมการบริโภค มี 4 แบบ อาหารปรุงในบ้าน นอกบ้านภัตตาคาร อาหารสำเร็จรูปproceed food และอาหารริมทาง

ความสำคัญของ Consumer Education ต้องการมากกกว่าความรอบรู้ทางสุขภาพ กระทรวงศึกษาการมีบทบาทโดยตรงไม่เฉพาะเรื่องการโฆษณาแต่เป็นเรื่องการเรียนการสอน และขอให้พิจารณาสมัชชาสุขภาพมีมติ 70 เรื่อง ซึ่งต้องไป rearrange การทำงานมติ สช. ต้องมีองค์กรเอามติขับเคลื่อนไปทำงานจนเกิดรูปธรรม หนึ่งเอานโยบายไปขยายต่อในการขับเคลื่อนและ ขับเคลื่อนเอง สปสช.มองรายหัว และ สสส.มองงานสาธารณะ สสส.  สปสช. อยู่ในการวิเคราะห์ด้วย

ประเด็นถกเถียงของภาคอุตสาหกรรมไม่เห็นด้วยที่กระทรวงสาธารณสุขจะมากดดันเพียงผลิตภัณฑ์ม่าม่า ไวไวเพราะแค่ 10%  หากแต่ใช้โอกาสของเทคโนโลยี เครื่องมือวัดโซเดียม salt meter monitoring เอามาใช้ในอบต.ให้ชุมชนเป็นตัวคุมสุขภาพด้วยตนเองตามมติสช. ในต่างประเทศทำมีผลให้อุตสาหกรรมเปลี่ยนสูตร  แต่ healthier logo บริษัทบอกว่าทำแล้วนะแค่ 5% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ข้อเสนอต่อการทำงานระยะต่อไป

คณะกรรมการเสนอให้เลือกประเด็นที่จะทำงานขับเคลื่อนควบคุมโฆษณาในเด็ก เพื่อคาดหวังคุมโฆษณาอาหารเสี่ยงทำให้สุขภาพดีขึ้น การคุมการโฆษณาไม่ได้มีเป้าหมายให้เด็กเลือกอาหารที่ดี แต่เป็นการคลุมอาหารทุกเรื่อง สุดท้าย การทำงานทะลุไปที่การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคใหม่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญคือ ผู้มีส่วนเสียพ่อแม่ และ ผู้ปกครองที่ถูกการโฆษณาจูงใจการบริโภคอาหารแบบเสรีนิยม ประกอบกับสภาพแวดล้อมเด็กมีทางเลือกน้อย และการโฆษณาซ้ำๆ ต้องมีกิจกรรมเรียนรู้ระหว่างรร.และครอบครัว

ยุทธศาสตร์การปฏิรูปอาหาร (Food Reformulation)  และการควบคุมการตลาดอาหารในเด็กที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เป็นหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญใน NCD เป็น best buy กรณีตลาดมีการบังคับใช้ที่มีกลุ่มเป้าหมายเด็ก food Specific และ General มีความพยายามทำเรื่องการกำกับตลาด พยายามให้เขาใช้อำนาจเฉพาะเรื่องโฆษณากลุ่มเป้าหมายเด็ก  เด็กเพราะต้องเติบโตเป็นมีคุณภาพและสังคมควรมีมาตรการที่ปกป้อง บรรดากลไกที่มีอยู่ปัจจุบันไม่สามารถทำอะไรที่โฟกัสและบูรณาการได้  การปกป้องคุมครองสิทธิเด็กที่ได้รับการคุ้มครองสุขภาพและอาหาร ต้องทำงานเกาะติด

กลไกและโมเดลการทำงานที่มีเป้าหมายทำให้เด็กเติบโตมีคุณภาพ เพราะไม่ได้เริ่มจากศูนย์ ทำที่มหาวิทยาลัย   สถาบันการศึกษาเชื่อมโยงกับสถาบันครอบครัวการยอมรับจะสูง  ใน setting ที่เด็กไปรวมกันอยู่จะแข็งแรง เกิดการเรียนรู้ทำไมเราถึงห้าม ข้อพิจารณาเรื่องกลไกการทำงาน setting เด็กการคุมการโฆษณา จากตัวอย่างวิธีทำงานตั้งคณะกรรมการแบบเกาหลี  หรือ อังกฤษตั้งคณะกรรมการใหม่มากแล้วใช้กลไกภาครัฐ  สสส.และสช. เป็นกลไกเชิง solf power ที่น่าสนใจว่าจะใช้ยังไง มีความเป็นไปได้เชิงการเคลื่อนไหวนวตกรรมนโยบายมากกว่า    ให้สสส. หาทุนตั้งแชมเปี้ยน แล้วประกาศใครเป็นแชมเปี้ยนเรื่องนี้ ส่งต่อไปยังสสส. และสช.ได้

สถานการณ์ทำงานเรื่องการคุมโฆษณาใช้วิธี approach ปัญหาของเด็กอ้วนมีกี่มุมมอง ในแต่ละด้านกลุ่มไหนมีอำนาจในแต่ละเรื่อง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการที่จะตั้งดูแต่ตลาดไม่ได้ ต้องดูอาหารโภชนาการ สสส.ไม่มีแนวทางไม่ได้คิดเรื่อง commission การเป็นเจ้าของเรื่องไปจัดการเอง สช.เป็นไปได้แต่ทำให้มีเขี้ยวเล็บมากกว่านี้ commissionต้องเป็น monitoring เด็กถูกละเมิดเท่าไหร่ต้องแสดงข้อมูลแบบนี้มากกว่า เด็กถูกละเมิดจากการโฆษณา  การตั้งกรรมการรูปแบบ multi stakeholder รต้องไม่ตั้งชื่อไปทางใกทางหนึ่ง ต้องมีตัวกลางๆ และมีสองมุมม มุมหนึ่งนำไปสู่เรื่องการโฆษณาในภาคธุรกิจทุกที่ที่เด็กอยู่ อีกมุมทำให้เด็กมีสุขภาวะที่ดี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 หากเราไปตั้งกรรมการNCD ไม่ได้เรื่อง ต้องไปตั้งกรรมการในสภาเด็กแห่งชาติ สช.ไปทำแล้วราวอัพพาร์ทเนอร์ให้ beyond health

ข้อเสนอต่อ IHPP ลองคิดโมเดลการทำงานการเคลื่อนไหวทางนโยบาย policy commission สธ.ทำนโยบาย  IHPP ไป เสนอ commission แล้วทำงานวิชาการแล้วไปพัฒนา children the right of character in Thailand ทำกระบวนการทางเรื่องการควบคุมการตลาด ทำอย่างไรให้คนเห็นคุณค่าจะได้มีคนมาช่วย และ ทำตลาดอาหารไม่ได้ทำด้านลบเน้นเด็กคนจะขานรับ health literacy ก็ทำไปกับโรงเรียน  บทเรียนที่เรียนรู้จาก สสส. สช.ด้วย เสนอให้ตั้งกลุ่มทำงานและประกบอย. ที่เป็นมิตรและใช้สติปัญญา มีกระบวนการทางวิชาการที่ถูกใช้งาน ด้านหนึ่งอิสระ ด้านหนึ่งก็ทำงานกับรัฐ ถ้ามีกลไกดูแลเรื่องเด็กอย่างต่อเนื่อง มุ่งเรื่องการกำกับดูแลทำ commission ที่เป็นทางการไปเลย หรือให้ สสส. สช. ไปผลักดัน

ความคืบหน้าของการตั้งคณะกรรมกร NCD ชาติจากจำนวน 50 คนจะปรับเหลือ 20 คน โดยมีรมต.กระทรวงเป็นประธาน กองโรคไม่ติดต่อเป็นเลขา ระดับอธิบดีเกลี่ยลงอนุกรรมการหนึ่ง พัฒนานโยบายสาธารณะ ท่ารองปลัดเป็นกรรมการ ท่ารองสรรพกิจ อนุมีสิทธิ์ตั้งคณะกรรการ พราะที่ผ่านมาไม่มีผลงาน กลายเป็นว่าเลขาการทำงาน การตั้งอนุกรรมการชุดใหม่นี้จะตั้งคณะกรรมการอนุเป็นเรื่องๆ ปรับวิธีการทำงานมานำเสนอ hearing report โมเดล รัฐ วิชาการและภาคประชาสังคม แต่ว่าไม่ได้คุยเรื่องการตลาด หรือ การสื่อสารทางนโยบายสาธารณะ หากเอาข้อเสนอจากวง STAG เสนอว่าหน่วยงานวิชาการประกอบอนุฯ หน่วยงานวิชากรสถาบันอาหารสถาบันโภช สามขาวิชาการองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามา กสทช. กระทรวงดิจิทอล

ข้อเสนอวิธีการทำงานกับ สช. ต้องมีโมเดลการทำงานแบบใหม่ ปรับบทบาทคนทำงานเป็นในระบบราชการต้องทำให้ไม่เป็นราชการ

  1. สร้างวิธีการทำงานใหม่ภายใต้โครงสร้างของรัฐ ต้องทำงานวิชาการจริงจังเป็นหลักต่อเนื่อง เลขาต้องไม่ใช่อย.เท่านั้นต้องมีกลุ่มวิชาการประกบอย.
  2. กลุ่มวิชาการเป็นตัวหลักการทำงานเพื่อให้ต่อเนื่องไม่ได้ทำคนเดียว
  3. ต้องหาทางดึงคนกลุ่มอื่นมาเกี่ยวข้องในการประชุมต้องหาทางทำการสื่อสารสังคม แปลว่าต้องไม่รอให้ราชการมาสั่ง
  4. มาคุยให้ชัดๆ ต้องติดตามช่วยเหลือ และช่วยเติมช่องว่าง  เอาความก้าวหน้ามาคุย เอาเนื้อให้ครบเนื้อขาด เป็น learning forum ทพญ.ศิริวรรณเป็น Working Group ด้วยไม่ต้องรอประชุมปี 2-3 ครั้ง

สรุปเป้าหมายของคณะกรรมการชุดนี้คือ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ที่นอกจากภาคกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องร่วมมือกับหน่วยงานภาคอื่นๆ หรือ คนที่มีหน้าที่ดูแลออกกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนโยบายสาธารณะมาร่วมผ่านการ approach ของคณะกรรมการ STAG  ประเด็นการดำเนินงานที่ควรทำเรื่อง Health Lifestyle School Setting , Marketing ทำด้วยกันได้ภายใต้ร่มสิทธิเด็ก และตอนนี้ยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการ สำหรับคณะกรรมการ STAG-NCD ภายใต้โปรเจกนี้ตั้งเป้าช่วยสนับสนุนช่วยเติมช่องว่างการทำงานไปข้างหน้าที่ยังไม่มีข้อสรุป และ เสนอการปรับโครงสร้างและกลไกการทำงานของ สสส. สช. เพื่อให้มีแนวคิดของการพัฒนารูปแบบนโยบายสาธารณะที่แอคทีฟ

——————————————–

                                                                                                สุมนมาลย์ สิงหะ สรุป/เรียบเรียง

[1] รายงานการศึกษาการสื่อสารการตลาดอาหารในโรงเรียน กับทัศนคติพฤติกรรมการซื้อ และการบริโภคอาหารของเด็กประถมศึกษาภายใต้โครงการการติดตามและการเฝ้าระวังอุตสา5หกรรมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีนน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูงในเด็กและเยาวชนของประเทศไทย (Food Watch) พ.ศ. 2558

[2]Kelly B, King L, Chapman K, Boyland E, Bauman AE, Baur LA. A hierarchy of unhealthy food promotion effects: identifying methodological approaches and knowledge gaps. Am J Public Health. WHO Regional Office for Europe. (2018). Evaluating implementation of the WHO Set of Recommendations on the marketing of foods and non-alcoholic beverages to children 2015;105:e86– e9

[3] WHO. (2011). Chapter 4. Reducing risks and preventing disease: population-wide interventions. Global status report on noncommunicable diseases 2010. : p56.

[4] Principles of Food marketing control

[5] Who. (2016 ) report of the commission on ending childhood obesity

[6] ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหารพ.ศ. 2551 ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

[7] ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 36๖) พ.ศ.2556

[8] ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องหลักเกณฑ์การโฆษณา พ.ศ. 2561 วันที่ 17   ธันวาคม 2561

[9] นงนุช ใจชื่น ธนพันธ์ สุขสอาดและศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2562

[10] เอกสารอัดสำเนา

[11] A cost-utility analysis of policy options for dietary sodium intake control in Thailand .HITAP 2020