นักวิจัยผู้รับผิดชอบ : ดร.นรา เบญจาบุตร และ นายศุภกิจ แดงขาว 

รายละเอียดเนื้อหาประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ

  1. ความสำคัญของฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร
  2. ตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร  ได้แก่ บทบาทภาครัฐ  มิติผู้ประกอบการ  มิติผู้บริโภค  และมิติภาคประชาสังคม
  3. รูปแบบฉลากผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ  มี 3 รูปแบบ คือ (1) ฉลากแบบไม่ชี้นำเชิงคุณค่า (Non-Directive System)  (2) ฉลากแบบกึ่งชี้นำเชิงคุณค่า (Semi-Directive System)  และ (3) ฉลากแบบชี้นำเชิงคุณค่า (Directive System)
  4. การใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ของไทย  ได้แก่ (1) พัฒนาการฉลากผลิตภัณฑ์ของไทย  (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อพัฒนาการฉลากผลิตภัณฑ์ของไทย  (3) หน่วยงานผู้รับผิดชอบและหลักเกณฑ์การบังคับใช้ฉลาก  และ (4) การใช้ฉลากทางเลือกสุขภาพ (Healthier Logo) ของไทย
  5. บทเรียนการใช้ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารของไทยและต่างประเทศ ทั้ง 3 รูปแบบ คือ (1) ฉลากผลิตภัณฑ์แบบ Non-Directive System  (2) ฉลากผลิตภัณฑ์แบบ Semi-Directive System  และ (3) ฉลากผลิตภัณฑ์แบบ Directive System

ข้อสรุปแนวทางการขับเคลื่อนการใช้ฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร  พบว่า

  • การเลือกรูปแบบฉลากในแต่ละประเทศขึ้นอยู่การตั้งเป้าหมายของนโยบายสุขภาพในแต่ละประเทศ
  • การบังคับใช้ฉลากแบบมีบทลงโทษหากฝ่าฝืนไม่ติดฉลาก ไม่ใช่เครื่องมือที่จะสร้างหลักประกันในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร
  • การปรับปรุงฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเกิดขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลการวิจัยทางโภชนาการใหม่ๆ
  • การสร้างความเข้าใจความหมายของและประโยชน์ของฉลากแก่ผู้บริโภคเป็นหัวใจสาคัญต่อประสิทธิผลการใช้ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารและเป็นเรื่องของความร่วมมือจากหลายภาคส่วน
  • การสร้างหลักประกันในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีโดยฉลากควรเน้นไปที่ความครอบคลุมของจานวนตราสินค้าที่เข้าหลักเกณฑ์ใช้ฉลากผลิตภัณฑ์
  • ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารจะต้องง่ายต่อความเข้าใจของผู้บริโภคซึ่งให้ผู้บริโภคสนใจข้อมูลและนาไปตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเอง